Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภูมิหลัง, หลัง, ภูมิ , then ภม, ภุมิ, ภูมิ, ภูมิหลัง, ภูมี, หลง, หลํ, หลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ภูมิหลัง, 878 found, display 1-50
  1. ภูมิ ๑, ภูมิ– : [พูม, พูมิ–, พูมมิ–] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
  2. หลัง : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  3. หลัง : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  4. ภูมิ : [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
  5. ภูมิ : [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.
  6. เงามัว : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้น แล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบ บริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
  7. เงามืด : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุ นั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; (ภูมิ) ส่วนที่มืดมิดของ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
  8. หลังจาก : สัน. ภายหลัง.
  9. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  10. หลังเต่า : ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้ เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  11. หลังยาว : (สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจหลังยาว, ขี้เกียจสันหลังยาว ก็ว่า.
  12. หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน : (สำ) ว. ที่ต้องตรากตรำทำงานหนัก มักหมายถึง ชาวไร่ชาวนา ซึ่งในเวลาทำไร่ทำนาหลังต้องสู้กับแดด และหน้าต้อง ก้มลงดิน.
  13. ภูมิรู้ : [พูม–] น. ความรู้, พื้นความรู้.
  14. ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
  15. หลังเขียว : ดู กุแล.
  16. หลังฉัตร : น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, ชานฉัตร ก็ว่า.
  17. หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  18. ภูมิธร, ภูมินทร์, ภูมินาถ, ภูมิบดี : ดู ภูมิภูมิ–.
  19. ก้มหลัง : ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
  20. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  21. กินหน้า, กินหลัง, กินหาง : ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง.
  22. คล้อยหลัง : ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดิน คล้อยหลังไปไม่นาน.
  23. เครื่องหลัง : น. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนําติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.
  24. จุดหลัง : ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น.
  25. ตบหัวลูบหลัง : (สํา) ก. ทําหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้ว กลับทําหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง.
  26. ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  27. ตรีภูมิ, ไตรภูมิ : น. ตรีภพ. (ส. ตฺริภูมิ).
  28. ตลบหลัง : ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วย้อนกลับมาตีหรือทําร้ายภายหลัง.
  29. ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก : (สํา) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, หน้าไหว้หลังหลอก ก็ว่า.
  30. ถอยหลัง : ก. เคลื่อนไปข้างหลัง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่เจริญ ก้าวหน้า.
  31. เถรภูมิ : [เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุ เป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
  32. ทับหลัง : น. ลวดลายที่ทําประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับ ปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับ หลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
  33. ทับหลังลัคน์ : (โหร) ก. เรียกลักษณะที่พระเคราะห์ที่อยู่ในเรือน วินาศหรือเป็น ๑๒ กับลัคนาว่า พระเคราะห์ทับหลังลัคน์.
  34. นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  35. แนวหลัง : น. ผู้ที่อยู่หลังแนวรบ.
  36. เบื้องหลัง : ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบ แฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
  37. เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
  38. พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
  39. ไพล่หลัง : ก. เอาแขน ๒ ข้างไขว้ไปข้างหลัง เช่น ถูกจับมัดมือไพล่ หลัง, เอามือ ๒ ข้างจับกันไขว้ไว้ข้างหลัง เช่น ตำรวจยืนถ่างขาเอา มือไพล่หลังในเวลายืนรับเสด็จ.
  40. ฟ้าเคืองสันหลัง : (สํา) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่ เกิดจากอํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึง รําพัน. (ขุนช้างขุนแผน).
  41. ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง : (สํา) น. อํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยัง ไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสํานวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยัง ไม่รู้สึก.
  42. ภาคภูมิ : [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
  43. ภายหลัง : น. ข้างหลัง, ต่อจากนั้นไป.
  44. มัชฌิมภูมิ : [-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์ หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
  45. ไม้เกาหลัง : น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได.
  46. ย้อนหลัง : ก. ถอยกลับไปหาอดีต เช่น ให้ผลย้อนหลัง มีผลย้อนหลัง.
  47. ลองภูมิ : [–พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
  48. ลับหลัง : ว. ไม่ใช่ต่อหน้า เช่น นินทาลับหลัง ว่าร้ายลับหลัง.
  49. ล้าหลัง : ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น ความคิดล้าหลัง.
  50. ลูบหน้าลูบหลัง : ก. เอามือลูบตามเนื้อตามตัวลูกหลานเป็นต้นด้วย ความเมตตาเอ็นดู เช่น คุณย่าลูบหน้าลูบหลังหลาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-878

(0.1896 sec)