Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มงคล, 102 found, display 1-50
  1. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  2. มงคลจักร : [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะ ในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
  3. มงคลแฝด : [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
  4. มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  5. มงคลวาท : [มงคนละวาด] น. คําให้พร, คําแสดงความยินดี.
  6. มงคลวาร : [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
  7. มงคลสมรส : [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
  8. มงคลหัตถี : [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
  9. พืชมงคล : [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อ ความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
  10. มิ่งมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.
  11. สวัสดิมงคล : น. สิ่งที่ให้ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เช่น ประดิษฐาน พระพุทธรูปไว้ในบ้านเพื่อสวัสดิมงคล.
  12. อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
  13. บานมงคล : [ [บานนะมงคน] น. ชุมนุมดื่ม. (ส.).
  14. ภัทรบิฐ : น. แท่นสําหรับเทพบดี หรือพระราชาประทับ ถือว่าเป็น มงคล. (ส.).
  15. มะตูม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการ มงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์ หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
  16. มังคละ : (แบบ) น. มงคล. (ป., ส.).
  17. undefined : [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทําให้งอกงาม, เช่น เจริญทางพระราชไมตรี เจริญสัมพันธไมตรี, มากขึ้น; ทิ้ง เช่น เจริญยา, จำเริญยา ก็ว่า; ตัด เช่น เจริญเกศา, จำเริญเกศา ก็ว่า; สาธยาย, สวด, (ในงานมงคล) เช่น เจริญพระพุทธมนต์.
  18. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  19. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  20. กลี : [กะลี] น. สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. ว. ร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).
  21. กาโมทย : [-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
  22. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  23. กินสี่ถ้วย : ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีน้ำกะทิใส่ชามอยู่กลาง].
  24. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  25. คำขวัญ : น. ถ้อยคําที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.
  26. ฆ้องชัย : น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
  27. เงินขวัญถุง : น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล.
  28. จังไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
  29. จัญไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
  30. เจิม ๑ : ก. เอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล; เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง.
  31. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  32. ชัยศรี : [ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบ กับชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
  33. ช้างสำคัญ : (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาวเพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือ สีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาวและอัณฑโกศขาวหรือสี คล้ายหม้อใหม่.
  34. ช้างสีปลาด : [ปะหฺลาด] (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหาง ขาว หรืออัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่.
  35. ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
  36. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  37. ดิลก : [ดิหฺลก] น. รอยแต้มหรือเจิมที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล, เลิศ, ยอด, เฉลิม. (ป., ส. ติลก ว่า ไฝ, รอยตกกระที่ผิวหนัง).
  38. ได้ฤกษ์ : ก. ถึงเวลาอันเป็นมงคล.
  39. ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
  40. ถูกโฉลก : ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล.
  41. ทรธึก : ว. ชั่วยิ่ง, ใช้เรียกวันในตําราหมอดูว่า วันทรธึก หมายความ ว่า วันชั่วยิ่ง ห้ามทําการมงคลต่าง ๆ.
  42. ทางสามแพร่ง : น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมา บรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  43. ธุรำ : น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก.
  44. นพเก้า : [นบพะ] น. ชื่อแหวนฝังพลอย ๙ อย่าง ทําเป็นยอดก็มี ฝัง รอบวงแหวนก็มี สําหรับสวมในการมงคล; ชื่อแกงชนิดหนึ่งมี ลักษณะคล้ายแกงส้ม ปรุงด้วยผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ประสมปลาร้า, แกงซั้ว ก็เรียก.
  45. นั่งปรก : [ปฺรก] ก. นั่งทําใจให้เป็นสมาธิกํากับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยัง วัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ.
  46. พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
  47. พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  48. พิธีกร : น. ผู้ดําเนินการในพิธี เช่น พิธีกรในงานมงคลสมรส, ผู้ดำเนินรายการ เช่น พิธีกรในการสัมมนา.
  49. พุทธาภิเษก : น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์ พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
  50. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-102

(0.0236 sec)