Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: มั่นคง , then มนคง, มั่นคง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : มั่นคง, 74 found, display 1-50
  1. มั่นคง : ว. แน่นหนาและทนทาน เช่น เก็บของไว้ในห้องนั้นมั่นคงดี; ไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น ใจคอมั่นคง.
  2. แข็งแรง : ว. มีกําลังมาก, ลํ่าสัน, มั่นคง, คงทน, อย่างเต็มกําลัง เช่น ทํางานแข็งแรง.
  3. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  4. ธีร, ธีระ : [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
  5. ยง ๒ : ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง.
  6. สถาพร, สถาวร : [สะถาพอน, วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
  7. อัจจุตะ : [อัดจุตะ] ว. ไม่เคลื่อนที่, มั่นคง, แน่นอน, เสมอไป. (ป.).
  8. แน่นแฟ้น : ว. มั่นคง เช่น รักกันแน่นแฟ้น ผูกมัดแน่นแฟ้น.
  9. แน่นหนา : ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่าง แน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
  10. พัสดุไปรษณีย์ : น. หีบห่อบรรจุสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาด ใหญ่และมีนํ้าหนักมากกว่าไปรษณียภัณฑ์อื่น ๆ หุ้มห่อแน่นหนา มั่นคง เหมาะแก่สภาพของสิ่งของและระยะทางที่จะส่งไป.
  11. ทลอึง : [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
  12. เธียร : น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, มั่นคง. (ป. ธีร).
  13. ถาวร, ถาวร : [วอน, วอระ, วะระ] ว. มั่นคง, ยั่งยืน, คงทน. (ป.).
  14. ถิร : [ถิระ] (แบบ) ว. มั่นคง, แข็งแรง. (ป.).
  15. เถียร : ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (แผลงมาจาก ถิร).
  16. ทนทาน : ว. มั่นคง, ไม่เสียหายง่าย.
  17. ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี : [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ, ทฺฤฒี).
  18. เป็นมั่นเป็นเหมาะ : ว. มั่นคง, แข็งขัน, หนักแน่น.
  19. สถิร : [สะถิระ] ว. มั่นคง, แข็ง, แข็งแรง. (ส. สฺถิร; ป. ถิร).
  20. หนักแน่น : ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
  21. อุ่นหนาฝาคั่ง : ว. มั่นคง, มีหลักฐานเป็นที่พักพิงมั่นคง, เช่น มีฐานะ อุ่นหนาฝาคั่ง; มากมายคับคั่ง เช่น งานนี้มีผู้คนมาอุ่นหนาฝาคั่ง.
  22. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  23. กระง่อนกระแง่น : ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, ง่อนแง่น ก็ว่า.
  24. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  25. โกโรโกโรก : (ปาก) ว. แบบบาง, ไม่มั่นคง; ผอมแห้ง, ขี้โรค.
  26. โกโรโกโส : (ปาก) ว. โกรงเกรง, ไม่มั่นคง, เช่น กระท่อมโกโรโกโส; ต่ำต้อย เช่น คนโกโรโกโส.
  27. ขยัน ๑ : [ขะหฺยัน] ก. ทําการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทําหรือ ประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท).
  28. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  29. คลอนแคลน : [-แคฺลน] ว. ง่อนแง่น, ไม่มั่นคง, เช่น ฐานะคลอนแคลน.
  30. คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
  31. ง่อกแง่ก : ว. โยกคลอนไปมา, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง.
  32. ง่อนแง่น : ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, กระง่อนกระแง่น ก็ว่า.
  33. โงง, โงงเงง : ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  34. จัดตั้ง : ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง.
  35. จัดมั่น : ก. ทําให้ได้โดยมั่นคง.
  36. จุดยืน : น. ความคิดแน่วแน่, ความมั่นคงในหลักการตามความคิด ความเชื่อของตน.
  37. ฉุกเฉิน : ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
  38. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  39. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  40. ถาวรวัตถุ : [ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ] น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ. (ป.).
  41. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  42. ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  43. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  44. ทิพยพยาน : น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
  45. ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
  46. ธีรภาพ : น. ความมั่นคง, ความแน่นหนา. (ส.).
  47. แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
  48. เบญพาด : [เบนยะ-] น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. (รูปภาพ เบญพาด)
  49. ปลูกฝัง : ก. ตกแต่งให้มีเหย้ามีเรือน; บํารุงให้เจริญมั่นคง. ปลูกฝี
  50. ปึกแผ่น : ว. ที่ตั้งอยู่ด้วยความมั่นคง, มีหลักฐานมั่นคง.
  51. [1-50] | 51-74

(0.0558 sec)