Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยกย่อง , then ยกยอง, ยกย่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยกย่อง, 82 found, display 1-50
  1. ยกย่อง : ก. เชิดชู.
  2. ชม ๑ : ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของ ในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้.
  3. กิตติศัพท์ : น. เสียงเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, เสียงยกย่อง. (ป. กิตฺติ = สรรเสริญ, ยกย่อง + ส. ศพฺท = เสียง).
  4. นับถือ : ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลัก ผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้าย จดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  5. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  6. เฉลิม : [ฉะเหฺลิม] ก. ยกย่อง เช่น เฉลิมพระเกียรติ, เพิ่มพูน, เสริม, เช่น เฉลิมศรัทธา. ว. เลิศ, ยอด.
  7. เซิง ๓ : ก. ยก, ยกย่อง.
  8. เยินยอ : ว. ยกยอ. ก. ยกย่อง.
  9. กรรดิ : [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
  10. ชมเชย : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ; แสดงกิริยาเสน่หา.
  11. เชิดชู : ก. ยกย่อง, ชมเชย.
  12. เทิดทูน : ก. ยกย่อง, เชิดชูไว้เป็นที่เคารพ.
  13. ปรบมือให้ : (สํา) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ.
  14. ประเคราะห์ : (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
  15. เปิดหมวกให้ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย.
  16. ยกยอ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง.
  17. เยอ ๒ : ก. ยกย่อง, ชมเชย.
  18. กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
  19. กิตติมศักดิ์ : [-ติมะ-] ว. ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ เช่น ปริญญากิตติมศักดิ์ สมาชิกกิตติมศักดิ์.
  20. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  21. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  22. ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
  23. เขียนด้วยมือลบด้วยตีน : (สํา) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง.
  24. คาทอลิก : น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็น พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวช เรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. (อ. Catholic, Roman Catholic).
  25. คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
  26. คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
  27. เจว็ด : [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  28. ชี ๑ : น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).
  29. ตรัสสา : [ตฺรัดสา] น. คํายกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. (พระราชวิจารณ์).
  30. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  31. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  32. ทูนหัว : น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว.
  33. เธอ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้ กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทน ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๓.
  34. นักบุญ : น. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทําความดีไว้มากเมื่อตายแล้ว ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้สําเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีใน การบุญ.
  35. นับหน้าถือตา : ว. เป็นที่เคารพยกย่อง เช่น เขาเป็นที่นับหน้าถือตาของ คนทั่วไป.
  36. บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
  37. โบแดง : น. งานชิ้นสําคัญที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ.
  38. ประโคม : ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชา หรือยกย่องเป็นต้น.
  39. ป้อยอ : ก. ตามใจหรือเอาใจจนเกินไป, ยกย่องเยินยอจนเกินพอดี, บํารุงบําเรอจนเกินไป.
  40. ปัคหะ : [ปักคะ-] (แบบ) น. ประเคราะห์, การยกย่อง. (ป. ปคฺคห).
  41. ปิดทองหลังพระ : (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ เไม่มีใครห็นคุณค่า.
  42. โปรเตสแตนต์ : [โปฺร-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระ และนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของ พระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูป พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็น สัญลักษณ์. (อ. Protestant).
  43. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  44. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  45. มัน ๓ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สําหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้น ตามสถานะที่ควร สําหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสําหรับเรียก สัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  46. มานิต : [-นิด] ว. ผู้ที่คนนับถือ, ผู้ที่คนยกย่อง. (ป., ส.).
  47. มีหน้ามีตา : ว. มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง.
  48. เมียหลวง : น. เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่.
  49. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  50. ยกตนข่มท่าน : (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดง ให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
  51. [1-50] | 51-82

(0.0707 sec)