Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ราชย์ .

Eng-Thai Lexitron Dict : ราชย์, 8 found, display 1-8
  1. tyrannic : (ADJ) ; เกี่ยวกับทรราชย์ ; Related:ลักษณะการปกครองแบบทรราชย์
  2. tyrannical : (ADJ) ; เกี่ยวกับทรราชย์ ; Related:ลักษณะการปกครองแบบทรราชย์
  3. regnal : (ADJ) ; เกี่ยวกับการครองราชย์ของกษัตริย์ (คำทางการ)
  4. regnant : (ADJ) ; ซึ่งครองราชย์
  5. reign : (VI) ; ครองราชย์ ; Related:ครองราชสมบัติ, ครองบัลลังก์, ครองแผ่นดิน ; Syn:govern, rule
  6. accede : (VI) ; ขึ้นครองอำนาจ ; Related:ขึ้นครองราชย์
  7. ascend : (VT) ; รับตำแหน่ง ; Related:ขึ้นครองราชย์

Thai-Eng Lexitron Dict : ราชย์, more than 7 found, display 1-7
  1. ราชย์ : (N) ; the throne ; Related:royal property, royal treasures ; Syn:รัช ; Def:ความเป็นพระราชา ; Samp:เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชย์แล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสศรีสุคตขัตติยวงศ์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสศรีสุคตขัติยวงศ์
  2. ราชย์ : (N) ; state of being king ; Related:monarchy, kingship ; Syn:รัช, ราไชศวรรย์, ราชสมบัติ
  3. เสวยราชย์ : (V) ; occupy the throne ; Related:succeed to the throne, be a proclaimed king, be enthroned ; Syn:ครองราชย์, เสวยราชสมบัติ ; Samp:พระนางเจ้าของเขาเสวยราชย์มาครบ 50 ปี
  4. การครองราชย์ : (N) ; enthronement ; Samp:การครองราชย์ของรัชการที่ 5 มีการครองราชย์ที่นานกว่าพระมหากษัตริย์ใดในราชวงศ์จักรีไทย
  5. ครองราชย์ : (V) ; reign ; Related:succeed to the throne ; Syn:ครองราชสมบัติ, ครองบัลลังก์, ครองแผ่นดิน, เสวยราชสมบัติ ; Def:ดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ ; Samp:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลองค์ปัจจุบันครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุได้ 19 พระชันษา
  6. รัช : (N) ; royal treasures ; Related:throne, royal property ; Syn:ราชย์, ราไชศวรรย์, ราชสมบัติ
  7. ราชัย : (N) ; state of being king ; Related:monarchy, kingship ; Syn:ราชย์, รัช ; Def:ความเป็นพระราชา
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : ราชย์, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : ราชย์, 9 found, display 1-9
  1. ราชย์ : น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. (ส.; ป. รชฺช).
  2. ราชัย : น. ราชย์.
  3. ขุนหลวง : (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
  4. เถลิง : [ถะเหฺลิง] ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอํานาจ. ว. ขึ้นหนุ่ม, ขึ้นเปลี่ยว, เช่น วัวเถลิง.
  5. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  6. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  7. ระบอบ : น. แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำถูกระบอบ; ระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  8. รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  9. อภิเษก : ก. แต่งตั้งโดยการทําพิธีรดนํ้า เช่นพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.; ป. อภิเสก).

Budhism Thai-Thai Dict : ราชย์, 4 found, display 1-4
  1. มคธ : 1.ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2.เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมา จนบัดนี้ คือ ภาษามคธ
  2. มิลินท์ : มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน ยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ.๔๒๓ สวรรคต พ.ศ.๔๕๓
  3. วัฏฏคามณีอภัย : ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๕๑๕-๕๒๗ ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า และได้รบความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก การสังคายนาครั้งที่ ๕ ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน ก็จัดทำในรัชกาลนี้
  4. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

ETipitaka Pali-Thai Dict : ราชย์, 4 found, display 1-4
  1. การาเปติ : ก. ให้ทำ, ปกครอง; เสวย (ราชย์)
  2. กาเรติ : ก. ให้ทำ; ขึ้นครอง (ราชย์)
  3. ฉตฺตุสฺสาปน : นป. การยกเศวตฉัตร คือ การขึ้นครองราชย์
  4. อภิเสก : (ปุ.) อันรดด้วยคุณอันยิ่ง, การรดน้ำ, การได้บรรลุ, อภิเษกคือการแต่งตั้งโดยทำพิธีรดน้ำเช่นพิธีเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน.ส. อภิเษก.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ราชย์, 1 found, display 1-1
  1. แรกครองราชย์ : ปฐมาภิเสกปตฺโต

(0.0403 sec)