Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รูป , then รป, รุป, รูบ, รูป, รูปะ, รูปา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : รูป, 1511 found, display 1-50
  1. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  2. รูปเงา : (ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูป ที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
  3. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  4. รูปฌาน : [รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.
  5. รูปพรรณ : [รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.
  6. รูปภพ : [รูบปะพบ] น. ภพของผู้ที่ได้รูปฌาน ๔, รูปภูมิ ก็ว่า.
  7. รูปสมบัติ : [รูบปะสมบัด, รูบสมบัด] น. รูปงาม เช่น เขามีทั้งรูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ.
  8. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  9. รูปไข่ : น. มีรูปกลมรีอย่างไข่เป็ดไข่ไก่.
  10. รูปโฉม : น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เช่น นางมีรูปโฉมงดงาม.
  11. รูปโฉมโนมพรรณ : น. รูปร่างและผิวพรรณ เช่น นางในวรรณคดีมักมี รูปโฉมโนมพรรณงดงามยิ่ง.
  12. รูปถ่าย : น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบน แผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อ ให้รูปปรากฏ.
  13. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  14. รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
  15. รูปแบบ : น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.
  16. รูปพรรณสัณฐาน : น. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสันฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว.
  17. รูปพรหม : น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวก มีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม–).
  18. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  19. รูปหล่อ : ว. มีรูปงาม (มักใช้แก่ผู้ชาย).
  20. รูปเหลี่ยม : น. รูปที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรงอย่างน้อย ๓ เส้น ปลาย เส้นจดกัน.
  21. รูปพยัญชนะ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, พยัญชนะ ก็เรียก.
  22. รูปสระ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.
  23. กินรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, ซ่อนรูป ก็ว่า.
  24. เข้ารูป : ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป.
  25. ชักรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไป ลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ถ่ายรูป ก็ว่า.
  26. ซ่อนรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, กินรูป ก็ว่า.
  27. ถ่ายรูป : ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่น วัสดุใสเช่นฟิล์มกระจกถ่ายรูป, ชักรูป ก็ว่า.
  28. ผิดรูปผิดร่าง : ว. เปลี่ยนไปจนเสียรูปเดิม.
  29. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  30. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  31. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  32. ล้างฟิล์ม, ล้างรูป : ก. นำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปแช่ลงในสารละลายเคมี เพื่อให้รูปปรากฏขึ้นบนฟิล์ม.
  33. สวยแต่รูป จูบไม่หอม : (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าที วาจา และกิริยามารยาทไม่ดี.
  34. ทองรูปพรรณ : [-รูบปะพัน] น. ทองคําที่ทําสําเร็จเป็นเครื่องประดับ และของใช้ต่าง ๆ.
  35. สรุป, สรูป : [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็น ประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
  36. เข้ารูปเข้ารอย : ก. ถูกกับแบบแผน.
  37. คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  38. ธรรมปฏิรูป, ธรรมประติรูป : น. ธรรมเทียม, สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมแท้.
  39. ประสาทรูป : [ปฺระสาทะ-] น. เส้นประสาท.
  40. ปฏิรูป, ปฏิรูป- : [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้ สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
  41. กฤษฎี : [กฺริดสะดี] (แบบ; กลอน) น. รูป เช่น พระอินทราธิราชแปรกฤษฎี. (สมุทรโฆษ). (ส. อากฺฤติ = รูป).
  42. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  43. ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
  44. จอก ๑ : น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูป ทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก.
  45. จับยี่กี : น. การเล่นพนันของจีนชนิดหนึ่ง มีไพ่ทําด้วยไม้แผ่นบาง ๆ รูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑๒ แผ่น. (จ.).
  46. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  47. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  48. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  49. แฉก, แฉก ๆ : ว. ลักษณะของสิ่งที่เป็นแผ่นและแยกออกเป็นจัก ๆ หรือเป็นทางยาว เช่น พัดแฉกดาว ๕ แฉก ใบตาลเป็นแฉก ๆ; เรียกพัดยศพระราชาคณะ มียอด แหลมและริมเป็นจัก ๆ ว่า พัดแฉก. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็น แฉก ๆ เช่น ใบมะละกอมี ๕ แฉก รูป ๓ แฉก.
  50. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1511

(0.1794 sec)