Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลักษณะเฉพาะ, ลักษณะ, เฉพาะ , then ฉพา, เฉพาะ, ลกษณ, ลกษณฉพา, ลักษณะ, ลักษณะเฉพาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลักษณะเฉพาะ, 1627 found, display 1-50
  1. เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
  2. ลักษณ–, ลักษณะ : [–สะหฺนะ] น. สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมี ลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).
  3. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  4. เฉพาะกิจ : ว. เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หน่วยปราบปรามเฉพาะกิจ.
  5. เฉพาะตัว : ว. เฉพาะบุคคล, ส่วนตัว.
  6. เฉพาะหน้า : ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
  7. เฉพาะกาล : ว. ชั่วคราว ในคําว่า บทเฉพาะกาล.
  8. เฉพาะพระพักตร์ : (ราชา) ว. ต่อหน้า.
  9. กระหมวด ๒ : น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สาย ประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดู ลักษณะช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง๕ฐานนี้ เป็นทาง ประกอบการพิจารณา.
  10. การ์ตูน ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลําตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดําคล้ำ มักมีแถบ สีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลําตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิด หรือขนาด พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับ ดอกไม้ทะเลในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน.
  11. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  12. แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
  13. ไขมัน : น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็น ของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าว ไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
  14. โคเคน : น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะเป็น ผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา (Erythroxylum coca Lam.) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. (อ. cocaine).
  15. จ้ำม่ำ : ว. คําประกอบลักษณะอ้วน ให้รู้ว่าอ้วนน่ารัก (โดยมากใช้เฉพาะเด็ก).
  16. ชาติพันธุ์วิทยา : [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กําเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
  17. ดำ ๓ : ว. สีอย่างสีมินหม้อ, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะ สี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ผ้าดํา เต่าดํา มดดํา.
  18. แดง ๑ : ว. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลม ตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง. ก. ลักษณะที่ ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา เช่น เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว. (ปาก) น. สตางค์ เช่น ไม่มีสักแดงเดียว. (ตัดมาจาก สตางค์แดง).
  19. ตะวัน : น. ดวงอาทิตย์. ตะวันขึ้น ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. ตะวันตก ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก; เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดย เฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. ตะวันยอแสง ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสี แดงเข้ม. ตะวันออก ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศ ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. ตะวันออกกลาง น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก ของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. ตะวันออกใกล้ น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย. ตะวันออกไกล น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก ทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออก เฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย. ตะวันอ้อมข้าว ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว.
  20. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  21. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  22. ทอง ๑ : น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา; เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง หรือแดงส้ม.
  23. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  24. ใบขนุน : น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Lactarius lactarius ในวงศ์ Lactariidae ลําตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลําตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบน ของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดําเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบ ตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. (๒) ชื่อหนึ่งของปลาตาเดียวโดยเฉพาะ ทุกชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae เป็นปลาทะเล ที่มีตาทั้งคู่อยู่บนด้านซ้ายของหัว. (ดู ตาเดียว).
  25. ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  26. ปักเป้า ๑ : [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาว ตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
  27. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  28. ผลึก : [ผะหฺลึก] น. ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีใสขาว เรียกว่า แก้วผลึก, สิ่งมี ลักษณะขาวใสดั่งแก้ว เช่น น้ำตาลตกผลึก ผลึกน้ำตาล. (ป. ผลิก); (วิทยา) ของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่แน่นอน เฉพาะตัว. (อ. crystal).
  29. ผีเสื้อยักษ์ ๒ : น. ชื่อผีเสื้อขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น ชนิด Attacus atlas ในวงศ์ Saturniidae ตัวเมียเมื่อกางปีก วัดจากขอบปีกหนึ่งถึงอีกขอบปีกหนึ่ง ยาวได้ถึง ๒๑–๒๕ เซนติเมตร ลําตัวยาว ๔–๕ เซนติเมตร กว้าง ๑.๕–๒ เซนติเมตร ลําตัวและอกคลุมด้วยขนสีนํ้าตาลแดง ปีกสี นํ้าตาลแดงมีลวดลายโดยเฉพาะบริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะ บางใสรูปคล้ายใบโพ.
  30. ภาษาถิ่น : น. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะ ตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.
  31. มงกุฎ : น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
  32. มงโกรย : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใน แนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวน มากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลัง สีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
  33. ราหู ๒ : น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไป คล้ายปลากระเบนนกมีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลาย สุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปากด้านบนลําตัวสีดํา เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้าน ซ้ายของส่วนหัว.
  34. แรด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osphronemus goramy เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Anabantidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสลิด ลําตัวหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลําตัวเห็นได้ชัด โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่จะมีปุ่มที่สันหัวคล้ายนอ พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาล ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร.
  35. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  36. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  37. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  38. เหล่า : [เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กําลังพล ของทหารซึ่งประกอบกับคําอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหาร ปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.
  39. แหบ : ว. ลักษณะของเสียงที่แห้งไม่แจ่มใส, เรียกชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูง เป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ในว่า เสียงแหบ.
  40. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ : (กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวาง ไว้ข้างด้านหน้าและในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น กรอกชื่อ ธนาคารใดธนาคารหนึ่งลงไว้โดยเฉพาะและจะใช้เงิน ตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารนั้น.
  41. ประกฤติ : [-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไป ตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
  42. วิทยุเฉพาะกิจ : น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชน ทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  43. สัณฐาน : น. รูปทรง, ลักษณะ, เช่น ป้อมปราการมีสัณฐานแปดเหลี่ยม โลกมี สัณฐานกลมอย่างผลส้ม. (ป.; ส. สํสฺถาน).
  44. ศัพท์เฉพาะวิชา : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
  45. ศิลปลักษณะ : น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้ จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืน และความเรียบง่าย.
  46. พฤติ, พฤติ : [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
  47. กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  48. คด ๒ : น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัณฐานหักมุมเป็นข้อศอก เช่น วิหารคด. ว. ลักษณะ ที่ไม่ตรงตลอด; ไม่ซื่อ.
  49. คางคก ๒ : น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachus grunniens และ Halophryne trispinosus ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลําตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาล เป็นด่างดวงทั่วไป ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะ ชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
  50. คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1627

(0.2078 sec)