Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ลืม , then ลม, ลืม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ลืม, 546 found, display 1-50
  1. ลืม : ก. หายไปจากความจํา, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก, เช่น เขาลืมความหลัง ลืมชื่อเพื่อน, ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น เช่น ลืม ทำการบ้าน ลืมรดน้ำต้นไม้.
  2. หลง ๆ ลืม : ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
  3. ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
  4. ลืมเลือน : ก. ลืมไปบ้างหรือค่อย ๆ ลืมไปจากความทรงจำ เช่น เรื่องนี้ลืมเลือนไปบ้างแล้ว.
  5. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  6. ลืมกลืน : น. ชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเท้ายายม่อม หรือแป้ง ถั่วกวนกับน้ำตาลทรายหยอดหน้าด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิอย่าง หน้าตะโก้ โรยหน้าด้วยถั่วทองคั่ว.
  7. ได้หน้าลืมหลัง : ก. หลง ๆ ลืม ๆ.
  8. ไม่ลืมหูลืมตา : ว. งมงาย เช่น หลงจนไม่ลืมหูลืมตา.
  9. ลืมตาอ้าปาก, ลืมหน้าอ้าปาก : ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม เพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  10. วัวลืมตีน : (สำ) น. คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน.
  11. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า : (สํา) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียว กับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย.
  12. มะลืมดำ : ดู กระไดลิง.
  13. กะป้ำกะเป๋อ : ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
  14. ขล้ง : [ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
  15. ป้ำเป๋อ, ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ขี้หลงขี้ลืม, กะปํ้ากะเป๋อ ก็ว่า.
  16. เผลอไผล : [ไผฺล] ก. หลง ๆ ลืม ๆ, ลืมตัวไปชั่วขณะ, เลินเล่อ.
  17. เฟือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, เลือน.
  18. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  19. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  20. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  21. กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
  22. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  23. เก่ง : ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง.
  24. ขดาน : [ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).
  25. ขยิบ : [ขะหฺยิบ] ก. ทําหลับตาแล้วลืมโดยเร็วครั้งหนึ่ง โดยเป็นอาณัติ สัญญาณให้ผู้อื่นกระทําหรือเว้นกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  26. ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  27. เข้ากระดูกดำ : ว. ติดแน่นจนถอนไม่ขึ้นหรือไม่รู้ลืม.
  28. เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
  29. เข้าพุง : (ปาก) ก. (โบ) จําได้แม่นยําจนไม่ต้องอาศัยตําราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.
  30. เข้าหม้อ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา.
  31. เขือ ๓ : (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
  32. แขกไม่ได้รับเชิญ : (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำ ให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์ บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้ รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา.
  33. เงย : ก. ยกหน้าขึ้น. เงยหน้าอ้าปาก ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
  34. ได้แกงเทน้ำพริก : (สํา) ก. ได้ใหม่ลืมเก่า.
  35. ถวายเนตร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร ทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสํารวม.
  36. เถื่อน : น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกล จากความเจริญ, มักใช้ประกอบคํา ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.
  37. นกกางปีก : น. กลอักษรชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า แสนรักร้อน (ร้อนรัก) หนักอกเอ๋ยฉันใดจะได้ชมชิด (ชิดชม) เชย ไม่ลืมเลย (เลยลืม) ปลื้มอาลัย.
  38. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  39. แผลเก่า : (สํา) น. ความเจ็บชํ้าที่ฝังใจอยู่ไม่รู้ลืม.
  40. เพลิดเพลิน : [เพฺลิดเพฺลิน] ก. สนุกสนานไม่รู้จักเบื่อ, สนุกสนานจนลืมกังวล.
  41. เพลิน, เพลิน ๆ : [เพฺลิน] ก. อาการที่ปล่อยอารมณ์อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจจน ลืมนึกถึงสิ่งอื่น เช่น ทำงานเพลิน ฟังดนตรีเพลิน กินเล่นเพลิน ๆ.
  42. มัก : ก. ชอบ, พอใจ, เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง. ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เนือง ๆ, เช่น มักมีอันเป็นไปต่าง ๆ มักเป็นคนขี้ลืม.
  43. มืน : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.
  44. ยิบ ๒ : (ปาก) ก. ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบ เอาไปเสียเลย.
  45. รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
  46. ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
  47. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  48. ลม ๆ แล้ง ๆ : ว. เลื่อนลอยเปล่า ๆ, ไม่มีผล, เช่น ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะถูกสลากกินแบ่ง.
  49. ละเลิง : ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลําพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิง จนลืมอันตราย.
  50. ล้างหู : ก. ทำเป็นลืมเสียว่าเคยได้ยินเรื่องหรือถ้อยคำที่ระคายหู.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-546

(0.0613 sec)