Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วัน , then พัน, วน, วนฺ, วัน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วัน, 880 found, display 1-50
  1. วัน : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  2. วัน : น. ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).
  3. วัน : ไม่มีความหวัง.
  4. วัน : น. แมลงวัน. (ดู แมลงวัน ที่ แมลง).
  5. วันสุกดิบ : น. วันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกําหนดวันงานพิธี ๑ วัน.
  6. วันเข้าพรรษา : น. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘.
  7. วันแข็ง : (โหร) น. วันซึ่งถือว่าดาวมีพลังแรง ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันเสาร์.
  8. วันจักรี : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน.
  9. วันฉัตรมงคล : น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. วันเฉลิมพระชนมพรรษา น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช.
  10. วันดีคืนดี : (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่ แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา. วันตรุษ น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.
  11. วันเถลิงศก : น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  12. วันที่ : น. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน.
  13. วันปวารณา, วันมหาปวารณา : น. วันออกพรรษา.
  14. วันปิยมหาราช : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เสด็จสวรรคต ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม.
  15. วันเพ็ญ : น. วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือวันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง.
  16. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  17. วันยังค่ำ : (ปาก) ว. เสมอ, ทุกคราวไป, แน่ ๆ, เช่น แพ้วันยังคํ่า; ตลอดวัน เช่น ทํางานวันยังคํ่า.
  18. วันรัฐธรรมนูญ : น. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับ วันที่ ๑๐ ธันวาคม.
  19. วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ : น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
  20. วันแรงงาน : น. วันหยุดงานเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ใช้แรงงาน ตรงกับ วันที่ ๑ พฤษภาคม, วันกรรมกร ก็เรียก.
  21. วันแล้ววันเล่า : ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
  22. วันวิสาขบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.
  23. วันสงกรานต์ : น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่ง กำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน.
  24. วันสหประชาชาติ : น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
  25. วันสารท : น. วันทำบุญสิ้นเดือน ๑๐.
  26. วันสืบพยาน : (กฎ) น. วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน.
  27. วันหน้า : น. วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
  28. วันหน้าวันหลัง : น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวัน หน้าวันหลังไว้บ้าง.
  29. วันหลัง : น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า วันหน้า ก็มี.
  30. วันออกพรรษา : น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก. วันอัฐมี [อัดถะ] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖.
  31. วันอาสาฬหบูชา : [สานหะ, สานละหะ] น. วันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
  32. วันอุโบสถ : น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาด ก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็น วันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
  33. วันนิพก : น. วนิพก.
  34. จิตรลดาวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
  35. ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
  36. มิสกวัน : น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. มิสฺสกวน; ส. มิศฺรกวน); ป่าที่มีไม้ต่าง ๆ ระคนกัน.
  37. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  38. ขายหน้าวันละห้าเบี้ย : (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
  39. เชื่อวัน : ว. คําใช้เข้าคู่กับคํา ทุกเมื่อ เป็น ทุกเมื่อเชื่อวัน หมายความว่า ทุกขณะ, ทุกวัน, เสมอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  40. ตระเวนไพร, ตระเวนวัน : ดู ระวังไพร, ระวังวัน.
  41. ถวัดถวัน : [–ถะหฺวัน] (กลอน) ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
  42. ทุกวี่ทุกวัน : (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
  43. นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
  44. เป็นวัน : ว. ตลอดทั้งวัน, หลาย ๆ วัน, เช่น เดินเป็นวัน ๆ กว่าจะถึง, บางวัน, เฉพาะวัน, แต่ละวัน, เช่น ทำงานเป็นวัน ๆ ได้ค่าจ้างเป็นวัน ๆ.
  45. พระยาวัน : น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  46. ระวังไพร, ระวังวัน : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และ ท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลง ตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง (Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos), ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.
  47. เร่งวันเร่งคืน : ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวัน เร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม.
  48. หนังกลางวัน : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
  49. เวณุวัน : น. ป่าไผ่. (ส. เวณุวน; ป. เวฬุวน).
  50. ชีวันตราย : ดู ชีว, ชีวะ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-880

(0.1843 sec)