Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิริยะ , then พิริยะ, วรย, วิริย, วิริยะ .

Eng-Thai Lexitron Dict : วิริยะ, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : วิริยะ, 11 found, display 1-11
  1. วิริยะ : (N) ; diligence ; Related:assiduity, persistence, application, industry, laboriousness, perseverance ; Syn:วิริยะอุตสาหะ, ความเพียร, ความบากบั่น ; Def:ความตั้งใจในการฝ่าความยากลำบาก ; Samp:นายไตรภพเป็นผู้อุทิศตนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนด้วยความวิริยะอุตสาหะมาโดยตลอด
  2. พิริยะ : (N) ; braver ; Related:warrior ; Syn:คนกล้า, นักรบผู้กล้า, ผู้กล้า ; Unit:คน
  3. พิริยะ : (N) ; bravery ; Related:vigour ; Syn:ความกล้า, ความกล้าหาญ
  4. ตรากตรำ : (V) ; endure ; Related:persist, persevere, struggle, attempt, strive ; Syn:พากเพียร, บากบั่น, อุตสาหะ, วิริยะ ; Def:ทนทำอย่างไม่คิดถึงความยากลำบาก ; Samp:ชาวนาตรากตรำกับงานหนักจนตัวดำ
  5. พากเพียร : (V) ; persevere ; Related:persist ; Syn:มานะ, พยายาม, ขยัน, หมั่นเพียร, วิริยะ, บากบั่น, เพียร, อุตสาหะ, มุมานะ ; Def:พยายามอย่างหนักโดยไม่นึกถึงอุปสรรค, มุ่งทำโดยไม่ท้อถอย ; Samp:เขาพากเพียรทำงานติดต่อกันมาเป็นเวลาถึงยี่สิบปีเต็ม เพื่อเก็บเงินซื้อบ้านหลังใหญ่เป็นของตัวเอง
  6. เวียร : (V) ; be diligent ; Related:be industrious, be assiduous ; Syn:เพียร, พยายาม, วิริยะ, อุตสาหะ ; Def:พยายามจนกว่าจะสำเร็จ ; Samp:เขาเวียรทำครั้งแล้วครั้งเล่าจนสำเร็จในที่สุด
  7. บารมี : (N) ; ten virtues ; Syn:ทศบารมี ; Def:คุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี 10 อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏาน เมตตา อุเบกขา
  8. เบญจพล : (N) ; five physical forces ; Def:กำลัง 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ; Samp:ชายผู้นี้มีเบญจพลติดตัวเป็นที่สำคัญยิ่งต่อกาลภายหน้า
  9. อิทธิบาท : (N) ; Four Rddhippada ; Related:effective means to attain successes ; Def:คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ 4 อย่าง คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ; Samp:เขารักที่จะสืบทอดเจตน์จำนงค์ของบิดาผู้เป็นบุรพาจารย์ของตนด้วยอำนาจของอิทธิบาท 4
  10. ความอุตสาหะ : (N) ; effort ; Related:industry, endeavor, try, attempt, diligence ; Syn:ความมานะ, ความพยายาม, ความเพียร, ความวิริยะ, ความมุ่งมั่น, ความหมั่นเพียร ; Samp:เมื่ออยู่ในวัยเรียน นักเรียนต้องใช้สติปัญญาและความอุตสาหะในการเรียนหนังสือ
  11. เป็นรูปเป็นร่าง : (V) ; become visible ; Related:appear, show up ; Syn:เป็นตัวเป็นตน, เป็นรูปธรรม ; Def:ปรากฏชัด, เป็นหลักฐาน ; Samp:ความฝันของเขาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ ก็เพราะความวิริยะอุตสาหะของเขาเอง

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิริยะ, 7 found, display 1-7
  1. วิริยะ : น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  2. พิริย, พิริยะ : [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ. (ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
  3. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  4. เบญจพล : น. กําลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
  5. พิริยพฤนท์ : [พิริยะพฺรึน] น. หมู่นักรบ, พลนักรบ. (ป. วิริย + ส. วฺฤนฺท).
  6. เพียร : น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ, บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).
  7. พิริยโยธา : น. พลรบผู้กล้าหาญ. (ป. วิริย + โยธา).

Budhism Thai-Thai Dict : วิริยะ, more than 5 found, display 1-5
  1. วิริยะ : ความเพียร, ความบากบั่น, ความเพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี, ความพยายามทำกิจ ไม่ท้อถอย (ข้อ ๒ ในอิทธิบาท ๔)
  2. บารมี : คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
  3. นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  4. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  5. โพชฌงค์ : ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
  6. Budhism Thai-Thai Dict : วิริยะ, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : วิริยะ, 3 found, display 1-3
  1. วิริย : นป. ความเพียร
  2. นิพฺพิริย : ค. ซึ่งขาดวิริยะ, หมดความเพียร, ขี้เกียจ, เชื่องช้า, อ่อนแอ
  3. กายิกเจตสิกวิริย : (นปุ.) ความเพียรอันเป็น ไปทางกาย และความเพียรอันเป็นไป ทางจิต, ความเพียรอันเป็นไปในกายและ ความเพียรอัน เป็นไปในจิต. ลบ วิริย ของ ศัพท์ต้น.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : วิริยะ, 1 found, display 1-1
  1. ความเพียร : วาณี, วิริยํ

(0.1565 sec)