Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิสัยทัศน์, วิสัย, ทัศน์ , then ทศน, ทัศน์, พิสัย, วสย, วิษัย, วิสยฺ, วิสัย, วิสัยทัศน์ .

Budhism Thai-Thai Dict : วิสัยทัศน์, 24 found, display 1-24
  1. วิสัย : ภูมิ, พื้นเพ, อารมณ์, เขต, แดน, ลักษณะที่เป็นอยู่, ไทยใช้ในความหมายว่า ขีดขั้นแห่งความเป็นไปได้ หรือขอบเขตความสามารถ
  2. สมณวิสัย : วิสัยของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ
  3. อัญญสัตววิสัย : วิสัยของสัตว์อื่น, วิสัยของสัตว์ทั่วๆ ไป
  4. ฆราวาสนิสัย : วิสัยของฆราวาส, ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, เรื่องของชาวบ้าน
  5. คติ : 1.การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2.ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑.นิรยะ นรก ๒.ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓.เปตติวิสัย แดนเปรต ๔.มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕.เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย) ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)
  6. ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง : คือ ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒.อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.โลกียธรรม ธรรมเป็นเป็นวิสัยของโลก ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
  7. ธรรมชาติ : ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น
  8. นิรยะ : นรก, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย อสุรกาย ดู นรก
  9. เปรต : ๑.ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว ๒.สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่า ปิตติวิสัยหรือ เปตติวิสัย ได้รับความทุกข์ทรมาน เพราะไม่มีอาหารจะกิน แม้เมื่อมีก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก
  10. โลกิยฌาน : ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้
  11. โลกิยธรรม : ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด; คู่กับ โลกุตตรธรรม
  12. โลกิยสุข : ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข
  13. โลกุดร : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  14. โลกุตตรธรรม : ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
  15. โลกุตตรปัญญา : ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก
  16. โลกุตตรวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวุมุตติ และนิสสรณะวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ
  17. โลกุตตระ : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  18. โลกุตตราริยมรรคผล : อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก
  19. โลกุตระ : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  20. วินิบาต : โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ; อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบายนัยหนึ่งว่าเป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่า หมายถึงกำเนิดอสุรกาย
  21. อทิสสมานกาย : กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย; อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน
  22. อบาย : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  23. อบายภูมิ : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  24. อุปาทายรูป : รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป, อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูต ด้วย
  25. [1-24]

(0.0293 sec)