Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ว่าย , then พ่าย, วาย, ว่าย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ว่าย, 162 found, display 1-50
  1. ว่าย : ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกําลังแขน ขา ครีบ หรือ หาง แหวกไปในนํ้า หรือในอากาศ.
  2. ว่ายฟ้า : (วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).
  3. ว่ายน้ำหาจระเข้ : (สํา) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  4. ว่ายหล้า : (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).
  5. แหวกว่าย : ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
  6. ตกน้ำไม่ว่าย : (สํา) ก. ไม่ช่วยตัวเอง.
  7. พ่าย : ก. หนีไป, แพ้.
  8. สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
  9. ก็ได้ ๒ : นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
  10. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  11. กระดิบ, กระดิบ ๆ : ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายน้ำกระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่ กับคํา กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
  12. กระเดือกๆ : ว. กระเสือกกระสนไปด้วยความลำบาก เช่น ว่ายน้ำกระเดือก ๆ.
  13. กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
  14. กาน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Phalacrocoracidae ตัวสีดํา คอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ด ดําน้ำจับปลากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กาน้ำใหญ่ (Phalacrocorax carbo) กาน้ำปากยาว (P. fuscicollis) และ กาน้ำเล็ก (P. niger).
  15. เข็ม ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus ในวงศ์ Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตาม ผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) ดู กระทุงเหว.
  16. ตนุ ๒ : [ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas ในวงศ์ Cheloniidae ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ดบนหลัง แต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
  17. ตะโขง : น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
  18. ตะลุมพุก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Tenualosa toli ในวงศ์ Clupeidae ที่ว่ายเข้านํ้าจืดเพื่อสืบพันธุ์ ลําตัว ยาวรี แบนข้างมาก ครีบหางเป็นแฉกลึก ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินอมเทา ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, กระลุมพุก ก็เรียก.
  19. นาก ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลําตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมี แผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ดหางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศ ไทย มี ๔ ชนิด ที่มีจํานวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea).
  20. นางนวล : น. ชื่อนกนํ้าในวงศ์ Laridae มี ๒ วงศ์ย่อย คือ นางนวลใหญ่ ในวงศ์ ย่อย Larinae ตัวใหญ่แข็งแรง ปากงองุ้มเล็กน้อย ปีกกว้าง ปลายหาง กลม กินปลาโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับปลาขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundus), และนางนวล แกลบในวงศ์ย่อย Sterninae ตัวเล็กเพรียวลม ปลายปากแหลม ปลาย หางมี ๒ แฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดําลงไปจับเหยื่อหรือ โฉบกินตามผิวนํ้า แต่มักไม่ชอบว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลาย ชนิด เช่น นางนวลแกลบธรรมดา (Sterna hirundo) นางนวลแกลบ ท้ายทอยดํา (S. sumatrana) นางนวลแกลบเล็ก (S. albifrons).
  21. ปู ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นก้าม รยางค์ที่ปล้องท้องไม่ใช้ในการว่ายนํ้า มีหลายวงศ์ เช่น ปูดําหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก. ปูจ๋า น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้ว ใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด.
  22. เป็ด ๑ : น. ชื่อสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้ว มีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายนํ้า ตัวมีหลายสี เช่น นํ้าตาล ขาว เขียว ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายนํ้าเก่ง กินปลา พืชนํ้า และสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดหัวเขียว (Anas platyrhynchos).
  23. เป็ดน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืดว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้ มักจะมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือ เป็ดหางแหลม (Anas acuta) เป็ดลาย (A. querquedula) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica).
  24. โปโลน้ำ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นในน้ำ โดยมีผู้เล่นซึ่งเป็น นักว่ายน้ำฝ่ายละ ๗ คน พาลูกบอลด้วยการโยนหรือขว้าง ลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่ายตรงข้าม.
  25. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  26. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  27. ลอยคอ : ก. ว่ายนํ้าตั้งตัวตรง คออยู่เหนือนํ้า.
  28. วงจรชีวิต : น. การเวียนว่ายตายเกิด, ลักษณาการของชีวิตที่มี พัฒนาการเป็นขั้น ๆ ไปตามลำดับและในที่สุดก็จะเวียนมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นใหม่ แล้วเวียนซ้ำต่อไปอีก เช่น ผีเสื้อออกไข่ แล้วไข่ กลายเป็นตัวหนอน หนอนกลายเป็นดักแด้ ดักแด้กลายเป็นผีเสื้อ แล้วผีเสื้อก็ออกไข่ ฯลฯ.
  29. วัฏสงสาร : น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ. ก็ว่า (ป.).
  30. วาย ๑ : ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกําหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย ตลาดวาย หัวใจวาย.
  31. วาย ๒ : ก. ตี เช่น วายทรวง. (ข.).
  32. สงสาร ๑, สงสาร : [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด; โลก. (ป., ส. สํสาร).
  33. สงสารทุกข์ : น. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด.
  34. สงสารวัฏ : น. การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า.
  35. สร้อย ๒ : [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกัน เป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินใน แหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดํา บนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก.
  36. สังสารวัฏ : [สาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า. (ป. สํสารวฏฺฏ).
  37. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  38. หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
  39. เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
  40. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  41. วายชนม์, วายชีวิต, วายปราณ, วายวาง, วายสังขาร : ก. ตาย.
  42. วายร้าย : ว. เหลือร้าย, ชั่วช้านัก.
  43. กินอยู่พูวาย : ก. กินอย่างอิ่มหนําสําราญ.
  44. ต้นวายปลายดก : (สํา) น. ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.
  45. กรกช : [กอระกด] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  46. กรรดิ : [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
  47. กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
  48. กรสานต์ : [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
  49. กระทบ : ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  50. กระแวน : น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-162

(0.0781 sec)