Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนย่อย, ส่วน, ย่อย , then ยอย, ย่อย, สวน, ส่วน, สวนยอย, ส่วนย่อย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนย่อย, 1374 found, display 1-50
  1. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  2. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  3. สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
  4. แป : น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
  5. แผนก : [ผะแหฺนก] น. ส่วนย่อย; พวก, หมู่; ส่วนราชการที่รองมาจากกอง เช่น แผนกสารบรรณแผนกคลัง.
  6. ส่วนแบ่ง : น. ส่วนย่อยที่แยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น เขาได้ส่วนแบ่ง มรดก ๓ ใน ๑๐ ส่วน.
  7. นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
  8. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  9. ส่วนรวม : น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วน ที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม.
  10. เศษ : ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  11. ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
  12. ส่วนเกิน : น. ส่วนที่นอกเหนือไปจากที่กำหนด เช่น ได้รับบัตรเชิญ ไปงาน ๒ คน แต่ไป ๓ คน คนที่ ๓ เป็นส่วนเกิน.
  13. ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
  14. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  15. ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
  16. ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
  17. ส่วนประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.
  18. ส่วนผสม : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ผสมกันให้เกิดเป็นสิ่งรวม เช่น ส่วนผสม ของอาหาร ส่วนผสมของยา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์.
  19. ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
  20. ส่วนภูมิภาค : น. ส่วนหัวเมือง.
  21. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  22. ส่วนหน้า : น. เรียกเขตที่มีการรบว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการ ที่แยกออกไปเพื่ออํานวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาใน การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหาร สูงสุดว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. ส่วนหลัง น. เรียกเขตของกองทหารที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกําลัง บํารุงว่า พื้นที่ส่วนหลัง.
  23. ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
  24. ย่อยข่าว : ก. หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว.
  25. นิรนัย : [–ระไน] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดําเนินจากส่วนรวมไปหาส่วน ย่อย, คู่กับอุปนัย. (อ. deduction).
  26. กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
  27. กิ่ง : น. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยก ออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอําเภอ กิ่งสถานีตํารวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่ง ในกระบวนพยุหยาตรา.
  28. เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
  29. ขายปลีก : ก. ขายเป็นส่วนย่อย, ขายตรงแก่ผู้บริโภคใช้สอย.
  30. แขนง ๑ : [ขะแหฺนง] น. กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แตกใหม่จากลําของไม้พวกไม้ไผ่, กิ่งไม้เล็ก ๆ ที่แยกออกจากกิ่งใหญ่, โดยปริยายหมายถึงส่วนย่อย ที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น วิชาฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์.
  31. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  32. แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
  33. เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  34. ซอย : ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง. ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจากถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้ มีหลายซอย.
  35. ตับ ๑ : น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ใน ช่องท้อง ทําหน้าที่ทําลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. ตับแข็ง น. ชื่อโรคเรื้อรังที่เกิดแก่ตับ ทําให้เนื้อเยื่อของตับหดตัวและมี จํานวนน้อยลง ส่วนเนื้อเยื่อยึดต่อมีจํานวนมากขึ้นผิดปรกติ มักทําให้เกิด อาการบวมที่ท้อง ตาเหลือง ซึม หมดสติ และอาเจียนเป็นโลหิต. ตับแลบ (ปาก) ว. มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งเสียจนตับแลบ. ตับเหล็ก น. ม้ามของหมู. ตับอ่อน น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทําหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน.
  36. บาง ๒ : ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วน ย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
  37. ปรมาณู : [ปะระ-, ปอระ-] น. ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กที่สุดจน ไม่สามารถจะแยกย่อยได้อีกด้วยวิธีเคมี. (ป., ส. ปรมาณุ).
  38. ประเภท : [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
  39. ปลีก : [ปฺลีก] ก. แยกหรือหลีกออกจากหมู่จากพวกไป, ย่อยออกไปจาก ส่วนใหญ่ เช่น ขายปลีก เงินปลีก.
  40. ฝักมะขาม : น. ไม้สําหรับตีหัวคน ยาวราวศอกเศษ รูปแบนคล้าย ฝักมะขาม เรียก ไม้ฝักมะขาม; ส่วนย่อยที่ต่อกันเป็นกงเกวียน.
  41. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  42. ยาอัด : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและ ทําเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม.
  43. รายละเอียด : น. ส่วนย่อยต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ.
  44. ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
  45. ลำไส้เล็ก : น. ลำไส้ที่ส่วนต้นต่อกับกระเพาะอาหารส่วนปลายต่อ กับลำไส้ใหญ่ โดยธรรมดามีขนาดเล็กกว่าลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมอาหาร.
  46. ลำไส้ใหญ่ : น. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.
  47. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  48. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  49. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  50. อุปนัย : [อุปะ, อุบปะ] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหา ส่วนรวม, คู่กับ นิรนัย. (อ. induction).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1374

(0.2364 sec)