Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนแบ่ง, แบ่ง, ส่วน , then บง, แบ่ง, แป่ง, สวน, ส่วน, สวนบง, ส่วนแบ่ง .

Budhism Thai-Thai Dict : ส่วนแบ่ง, 165 found, display 1-50
  1. วิภาค : การแบ่ง, การจำแนก, ส่วน, ตอน
  2. ปฐมยาม : ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน
  3. ปัจฉิมยาม : ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน
  4. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  5. วัย : ส่วนแห่งอายุ, ระยะของอายุ, เขตอายุ นิยมแบ่งเป็น ๓ วัย คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดดังนี้ ๑.ปฐมวัย วัยต้น ๓๓ ปี คือ อายุ ๑ ถึง ๓๓ ปี ๒.มัชฌิมวัย วัยกลาง ๓๔ ปี คือ อายุ ๓๔ ถึง ๖๗ ปี ๓.ปัจฉิมวัย วัยปลาย ๓๓ ปี คือ อายุ ๖๘ ถึง ๑๐๐ ปี
  6. ส่วนท่ามกลาง : ในประโยคว่า “ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง” ปัจจุบัน
  7. ส่วนข้างปลายทั้งสอง : อดีต กับอนาคต
  8. มัชฌิมยาม : ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน
  9. เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
  10. ปรมาตมัน : อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป, ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
  11. ฤดู : คราว, สมัย, ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น ๓ คราวขึ้นไป เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ดู มาตรา
  12. ขัณฑ์ : ตอน, ท่อน, ส่วน, ชิ้น, จีวรมีขัณฑ์ ๕ ก็คือมี ๕ ชิ้น
  13. จิต : ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
  14. เทวทูต : ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาที่เตือนให้ระลึกถึงคติ ธรรมดาของชีวิตมิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรก เป็นเทวทูต ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้ง ๔ อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)
  15. สรรพางค์ : ทุก ๆ ส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุก ๆ ส่วน
  16. อุภโตภาควิมุต : “ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน” คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล; หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน (และ ๒ วาระ) คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ (เป็นวิกขัมภนะ) หนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (เป็นสมุจเฉท) อีกหนหนึ่ง เทียบ ปัญญาวิมุต
  17. กามคุณ : ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
  18. บุพภาค : ส่วนเบื้องต้น, ตอนต้น
  19. ปฏิภาค : ส่วนเปรียบ, เทียงเคียง, เหมือน
  20. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
  21. สรีราพยพ : ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย
  22. อุปัสสยะของภิกษุณี : ส่วนที่อยู่ของภิกษุณีตั้งอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วย แต่อยู่โดยเอกเทศ ไม่ปะปนกับภิกษุ; เรียกตามศัพท์ว่า ภิกขุนูปัสสยะ
  23. วโนทยาน : สวนป่า เช่น สาลวโนทยาน คือ ส่วนป่าไม้สาละ
  24. องค์ : 1) ส่วน, ภาค, ตัว, อวัยวะ, ลักษณะ, คุณสมบัติ, ส่วนประกอบ 2) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชอื่นจากพวก และสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๒ องค์ พระเจดีย์ ๔ องค์, สำหรับภิกษุสามเณร ในภาษาเขียนท่านให้ใช้ รูป
  25. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  26. กติกา : (ในคำว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์) ข้อตกลง, ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย ทายกกล่าวคำถวายว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์ ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย
  27. กรรมวาจา : คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์, การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑ - the formal words of an act; text of a formal act, i.e. a motion (ญัตติ) together with one or three proclamations (อนุสาวนา) that may follow.
  28. กรวดน้ำ : ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีกก็ได้ว่า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด - to pour the water of dedication (to transfer merit to other beings)
  29. กัณฑ์ : หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง - 1.a chapter, portion or part (of a religious book) 2. a sermon.
  30. กัมมวัฏฏ์ : วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ ดู ไตรวัฏฏ์
  31. กัลปนา : 1.ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด 2.ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย - merit dedicated to the departed.
  32. กายคตาสติ : สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา
  33. กายคติ : สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา
  34. กาสี : แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาล กาสีได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศลแล้ว
  35. กุลทูสก : ผู้ประทุษร้ายตระกูล หมายถึง ภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่างๆ ด้วยอาการผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น
  36. ขันธ์ : กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)
  37. ฆราวาสธรรม : หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑.สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน ๒.ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓.ขันติ ความอดทน ๔.จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ
  38. จตุกกัชฌาน : ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ดู ฌาน๔เทียบ ปัญจกัชฌาน
  39. จตุธาตุววัตถาน : การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง
  40. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  41. จิตตสันดาน : การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต; ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)
  42. จุติ : เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
  43. ญาณ : ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้; ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑.อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต ๒.อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต ๓.ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑.สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง ๒.กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ ๓.กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓
  44. เดือน : ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา
  45. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน : กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบ ๕, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)
  46. ตุมพสตูป : พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง
  47. เตรสกัณฑ์ : กัณฑ์ ๑๓” ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบทบัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท
  48. ไตรวัฏ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  49. ไตรวัฏฏ์ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  50. ทวัตติงสาการ : อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-165

(0.0190 sec)