Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หยุดชั่วคราว, ชั่วคราว, หยุด , then ชวคราว, ชั่วคราว, หยด, หยดชวคราว, หยุด, หยุดชั่วคราว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หยุดชั่วคราว, 204 found, display 1-50
  1. ชั่วคราว : ว. ชั่วระยะเวลาไม่นาน, ไม่ประจํา, ไม่ตลอดไป.
  2. หยุด : ก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด; พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่น เขาพูดไม่หยุด.
  3. พัก : ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
  4. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  5. ยั้ง : ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  6. หยุดหย่อน : ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทํางานไม่ หยุดหย่อน คือ ทํางานไม่เว้นระยะ.
  7. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  8. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  9. จอด : ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).
  10. พักผ่อน : ก. หยุดทํางานชั่วคราวให้คลายเหนื่อย.
  11. พักสมอง : ก. หยุดทำงานที่ทำจำเจหรือหมกมุ่นอยู่ไปทำอย่างอื่น ชั่วคราวเพื่อผ่อนคลายสมอง.
  12. พักสายตา : ก. หยุดใช้สายตาอย่างคร่ำเคร่งชั่วคราว.
  13. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  14. วางมือ : ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทําอยู่ชั่วคราว หรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
  15. แวะ : ก. หยุดชั่วคราวระหว่างทาง เช่น แวะตลาดก่อนกลับบ้าน แวะรับส่ง คนโดยสาร.
  16. อนิจ, อนิจ : [อะนิด, อะนิดจะ] ว. ไม่ยั่งยืน, ไม่เที่ยง, ชั่วคราว, ไม่แน่นอน. (ป. อนิจฺจ; ส. อนิตฺย).
  17. ปิดฉาก : (ปาก) ก. เลิก, หยุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ปิดฉากแล้ว.
  18. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  19. ยอ ๒ : ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบ ให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่ วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้ง ไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
  20. หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
  21. ปล่อยชั่วคราว : (กฎ) ก. ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยจากการควบคุม หรือขังชั่วระยะเวลาหนึ่งในระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการ พิจารณาของศาล.
  22. ลูกจ้างชั่วคราว : (กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการ ประจำ เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็น ไปตามฤดูกาล.
  23. ขัดขา : ก. จงใจขัดขวางเพื่อไม่ให้ทำได้สะดวก, ขัดแข้งขัดขา ก็ว่า; แทน ชั่วคราว เป็นการแก้ขัดในการเล่นไพ่เป็นต้น, คานขา หรือ คันขา ก็ว่า.
  24. เฉพาะกาล : ว. ชั่วคราว ในคําว่า บทเฉพาะกาล.
  25. น้ำตะกู, น้ำตะโก : น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคํา นิยมนํามาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการ ชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกูหรือ กระดาษนํ้าตะโก.
  26. ประตูชัย : น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว สําหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ.
  27. กะปริดกะปรอย : [-ปฺริด-ปฺรอย] ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึง อาการที่ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่าเป็นสัน, กะปริบกะปรอย ก็ว่า.
  28. กะปริบกะปรอย : [-ปฺริบ-ปฺรอย] ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่ำเป็นสัน, กะปริดกะปรอย ก็ว่า.
  29. ขยักขย่อน : [-ขะหฺย่อน] ก. ทํา ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
  30. แขวนนวม : (สำ) ก. เลิกชกมวย, โดยปริยายหมายถึง เลิก, หยุด.
  31. ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
  32. สะเด็ด ๑, สะเด็ดน้ำ : ก. ทำให้น้ำหยุดหยดหรือหยุดไหลโดยวิธีรินหรือสงเป็นต้น เช่น เช็ดน้ำข้าวให้สะเด็ดน้ำ สงถั่วงอกให้สะเด็ดน้ำ.
  33. ห้าง ๑ : น. กระท่อมที่ทําไว้เฝ้านาเฝ้าสวน หรือที่พักเล็ก ๆ ชั่วคราว; ที่ซึ่งทําไว้ บนต้นไม้ในป่า สําหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์ เป็นต้น.
  34. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  35. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  36. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  37. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  38. กระทงป่า : น. ไม้พาดปากมาดเรือโกลนชั่วคราว.
  39. กระป๋อหลอ : ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. (มณีพิชัย).
  40. กระพังเหิร : น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง).
  41. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  42. กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
  43. กัก : ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักน้ำ. ว. หยุดชะงัก เช่น หยุดกัก.
  44. การเวก ๑ : [การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.
  45. กาลัด : น. แก้วหุง; สายหยุด. (ช.).
  46. กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
  47. กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
  48. แก้ขัด : ก. แก้ข้อขัดข้องให้ลุล่วงไปชั่วคราว.
  49. ขนำ : [ขะหฺนํา] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.
  50. ขัดตาทัพ : ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-204

(0.1273 sec)