Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลังอาหาร, อาหาร, หลัง , then หลง, หลํ, หลัง, หลังอาหาร, อาหาร .

Budhism Thai-Thai Dict : หลังอาหาร, 200 found, display 1-50
  1. อาหาร : ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตน ๔) วิญญาณหาร อาหารคือวิญญาณ
  2. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ : องค์แห่งผู้ถือ ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ (ธุดงค์ข้อ ๗)
  3. ปัจฉาภัต : ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหาร หมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว
  4. อวินิพโภครูป : “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”, รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไป อย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง กล่าวคือในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่าง แม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย, คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ, มี ๘ อย่าง คือ ปฐวี (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง) วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) โอชา (อาหารรูป); ใน ๘ อย่างนี้ ๔ อย่างแรกเป็นมหาภูตรูป หรือธาต ๔, ๔ อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป
  5. ภัต : อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
  6. ภัตร : อาหาร, ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
  7. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  8. ภักษา : เหยื่อ, อาหาร
  9. ภักษาหาร : เหยื่อ, อาหาร
  10. ภพหลัง : โลกที่สัตว์เกิดมาแล้วในชาติที่ผ่านมา, ภพก่อน, ชาติก่อน ตรงข้ามกับภพหน้า
  11. จังหัน : ข้าว, อาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์)
  12. อนติริตตะ : (อาหาร) ซึ่งไม่เป็นเดน (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือเป็นเดนภิกษุใช้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑)
  13. จตุปัจจัย : เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)
  14. บ้าน : ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว ๒ หลังหลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ก็เรียกว่าบ้าน, คำว่า คามสีมา หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้
  15. ปัจจัย : 1.เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2.ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
  16. ปาหุเนยฺโย : ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับ คือ ของสำหรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงบ้าน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)
  17. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  18. อามิสบูชา : การบูชด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ของหอม อาหาร และวัตถุอื่นๆ (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)
  19. กพฬิงการาหาร : อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
  20. กุฏิภัต : อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง
  21. คิลานภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ
  22. คิลานุปัฏฐากภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้
  23. นิโครธาราม : อาหารที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
  24. นิตยภัต : อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ
  25. บิณฑบาต : อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
  26. ปักขิกะ : อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้ง คือ สิบห้าวันครั้งหนึ่ง
  27. ปาฏิปทิกะ : อาหารถวายในวันปาฏิบท
  28. ผัสสาหาร : อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ กระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)
  29. ภัตตาหาร : อาหารคือข้าวของฉัน, อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ
  30. โภชนาหาร : อาหารคือของกิน
  31. วิญญาณาหาร : อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)
  32. สลากภัต : อาหารถวายตามสลาก หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมา เป็นของต่างกัน เขามักทำในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก; ดู สลาก
  33. สังฆภัต : อาหารถวายสงฆ์ หมายถึงอาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน
  34. อนามัฏฐบิณฑบาต : อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้ นอกจากมารดาบิดา
  35. อาคันตุกภัต : อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ คือผู้จรมาจากต่างถิ่น
  36. อุทเทสภัต : อาหารอุทิศสงฆ์หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้ หมายถึงของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน ท่านให้แจกไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา ของหมดแค่ลำดับไหน กำหนดไว้ เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่ อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก เทียบ สังฆภัต
  37. อุทริยะ : อาหารใหม่, อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้อง ในลำไส้กำลังผ่านกระบวนการย่อย แต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ
  38. อุโปสถิกภัต : อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน, เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัตนั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะคือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ
  39. อุโปสถิกะ : อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือ วันพระ ในเดือนหนึ่ง ๔ วัน, เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัตนั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะคือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ
  40. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  41. กัมมลักขณะ : การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม
  42. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  43. กุมมาส : ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส
  44. กุมารกัสสปะ : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ ภายหลังเรียกกันว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร
  45. โกณฑัญญะ : พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของพระสิทธัตถกุมาร ต่อมาออกบวชตามปฏิบัติพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ
  46. โกลิตะ : ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูล หัวหน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ ต่อมาภายหลัง คือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ
  47. ขรรค์ : อาวุธมีคม ๒ ข้าง ที่กลางทั้งหน้าและหลังเป็นสัน ด้านสั้น
  48. คติ : 1.การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2.ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑.นิรยะ นรก ๒.ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓.เปตติวิสัย แดนเปรต ๔.มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕.เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย) ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)
  49. คมิยภัต : ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ; คมิกภัต ก็ว่า
  50. คัคคภิกษุ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200

(0.0297 sec)