Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หา , then , หะ, หา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หา, 546 found, display 1-50
  1. หา : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  2. หา : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
  3. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  4. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  5. หาตัวจับยาก : (สํา) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคน เรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.
  6. หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
  7. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  8. หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
  9. หาห่วงมาคล้องคอ : (สํา) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน.
  10. หาหาใส่หัว : (สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน.
  11. หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ : ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้.
  12. หานะ : น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).
  13. หาเลือดกับปู : (สํา) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, รีด เลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
  14. หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
  15. หาเสียง : ก. แสวงหาการสนับสนุน.
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
  17. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  18. นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
  19. ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
  20. พระหารณย์, พระหารัณย์ : น. ป่าใหญ่. (ป. พฺรหา + ส. อารณฺย).
  21. รนหาที่ : (ปาก) ก. นิ่งอยู่ไม่ได้ ชอบหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตน.
  22. เรียกหา : ก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.
  23. สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก : น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์ องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
  24. หาริน, หารี : ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).
  25. อัพโพหาริก : ว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิด วินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อ ฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควร นับว่ากินเหล้า. (ป.).
  26. กล่าวหา : ก. ฟ้อง, กล่าวโทษ.
  27. ประสัยหาการ : ดู ประสัยห-, ประสัยห์.
  28. มีตาแต่หามีแววไม่ : (สำ) ก. ดูแต่ไม่ลึกซึ้ง, เซ่อ.
  29. ร้องเรียกร้องหา : ก. ต้องการตัว.
  30. ลูกศิษย์ลูกหา : น. ลูกศิษย์. ลูกสมภารหลานเจ้าวัด
  31. ว่ายน้ำหาจระเข้ : (สํา) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  32. หะ : ว. เสียงเปล่งเพื่อให้ลงมือพร้อมกัน.
  33. ห่า ๑ : น. ชื่อผีจําพวกหนึ่ง ถือกันว่าทําให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุ ให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียก โรคนี้ว่า โรคห่า.
  34. ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
  35. หาดก, หาตกะ : [-ดก, -ตะกะ] น. ทองคํา. (ป., ส. หาฏก).
  36. หูหาเรื่อง : (สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไป ในทางที่ไม่ดี.
  37. เห่า ๑ : ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
  38. เห่า ๒ : น. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดํา นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและ แผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
  39. โหยหา : ก. คร่ำครวญถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งพลัดพรากจากไปเป็นต้น.
  40. ไม่ : ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
  41. ปสัยหาหา : [-หาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
  42. วิหายสะ : [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
  43. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  44. หายนะ ๒ : [หายะนะ] น. ปี. (ป., ส.).
  45. ตัว ๒ : (คณิต) น. เรียกเลขในวิธีทําว่า ตัว เช่น ตัวบวก ตัวลบ ตัวคูณ ตัวหาร. ตัวคูณร่วมน้อย น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนําไปหารด้วยจํานวน เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น. ตัวตั้ง ๒ น. จํานวนเลขที่ตั้งไว้ก่อนสําหรับบวกลบคูณหาร. ตัวประกอบ ๒ น. จํานวนที่เมื่อคูณกันแล้วทําให้เกิดอีกจํานวนหนึ่ง เช่น ๒ x ๓ = ๖ ๒ และ ๓ ต่างเป็นตัวประกอบของ ๖. ตัวแปร น. จํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อนที่มีค่าได้หลาย ๆ ค่าในช่วงหรือ เซตที่กําหนดให้. (อ. variable). ตัวเลข น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง เช่น ๑๒ 53 VIII. (อ. numeral). ตัวหารร่วมมาก น. จํานวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนําไปหารจํานวน undefined เต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จํานวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหาร ร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.
  46. ก็ ๒ : นิ. ไขความ เช่น ถึงแก่กรรมก็ตายนั่นเอง ประสาทพิการก็บ้านั่นเอง, เน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้ง เช่น ทั้งฟืนเจ้าก็หัก ทั้งผักเจ้าก็หา.
  47. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  48. กรณฑ์ ๒ : [กฺรน] (คณิต) น. เรียกเครื่องหมาย ?ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธีหาค่าจากจํานวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น ? จะได้ ๗ ? จะได้ -๓.
  49. กรนนเช้า : [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
  50. กรรมาชีพ : [กํา-] น. คําเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วย ค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-546

(0.0615 sec)