Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อนุญาต , then อนญาต, อนุญาต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อนุญาต, 50 found, display 1-50
  1. อนุญาต : ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺ?าต).
  2. ใบอนุญาตขับขี่ : (กฎ) น. ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วย รถยนต์ ใบอนุญาตสําหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาต ผู้ประจําเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง, (ปาก) ใบขับขี่.
  3. สนามบินอนุญาต : (กฎ) น. สนามบินที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศและสนามบินที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด.
  4. ได้ : ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้าย คํากริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สําเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คําช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.
  5. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  6. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  7. ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  8. ขอประทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (มักใช้นำหน้าคำที่พูดกับผู้ใหญ่).
  9. ขอพระราชทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (ใช้กราบบังคมทูล พระเจ้าแผ่นดิน).
  10. ขับขี่ : ว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะ เคลื่อนที่ไปได้.
  11. คดีอนาถา : (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสีย ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสีย ค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาล ด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกาศาลเห็นว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.
  12. ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
  13. ใคร่ : [ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการ ขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.
  14. ชื่อสกุล : น. ชื่อประจําวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล; (กฎ) ชื่อประจําวงศ์สกุล.
  15. เชิญ : ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทาน อาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพเช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าว อนุญาตให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.
  16. ตรวจข่าว : ก. พิจารณาข่าวว่าควรอนุญาตให้พิมพ์ได้หรือไม่, พิจารณาข่าวที่ ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์แล้ว.
  17. ตราจอง : (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนดให้ผู้รับอนุญาตต้อง ทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๓ ปี.
  18. ตราแดง : (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่งแล้ว งดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.
  19. ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  20. ทุนหมุนเวียน : (กฎ) น. ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นํา รายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้.
  21. ธนาคารพาณิชย์ : (กฎ) น. ธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภท รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ และ ใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋ว แลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงินปริวรรตต่างประเทศ และ หมายความรวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าวด้วย.
  22. ธนาคารออมสิน : (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  23. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ : (กฎ) น. บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อันได้แก่ การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับ จํานองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปรกติหรือประกอบธุรกิจการรับ ซื้อฝาก หรือกิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
  24. บริษัทเงินทุน : (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุน และใช้เงินทุนนั้นในการประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การพาณิชย์ การพัฒนา การเคหะ.
  25. บริษัทหลักทรัพย์ : (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการ กองทุนรวม.
  26. เบิกทาง : น. เรียกหนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่านว่า หนังสือ เบิกทาง หรือ ใบเบิกทาง.
  27. ใบขับขี่ : (ปาก) น. ใบอนุญาตให้ขับเคลื่อนยานยนต์ได้, ถ้าเป็นใบ อนุญาตให้ขับเรือ เรียกว่า ประกาศนียบัตรนายท้ายเรือ, ถ้าเป็น ใบอนุญาตให้ขับเครื่องบิน เรียกว่า ใบอนุญาตนักบิน.
  28. ใบเบิกทาง : (ปาก) น. หนังสืออนุญาตให้โดยสารหรือให้ผ่าน, หนังสือเบิกทาง ก็เรียก.
  29. ใบเหยียบย่ำ : (กฎ; เลิก) น. ใบอนุญาตให้จับจองที่ดิน ซึ่งกําหนด ให้ผู้รับอนุญาตต้องทําประโยชน์ในที่ดินให้แล้วภายใน ๒ ปี.
  30. ประทานบัตร : [ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญ ที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทําเหมืองแร่ภายในเขต ที่กําหนดในหนังสือสําคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออก ให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทําการประมงในที่ว่าประมูล.
  31. ผ้ากฐิน : น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุเฉพาะ กฐินกาล.
  32. ผู้แทนโดยชอบธรรม : (กฎ) น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะ ทําการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คํา อนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทํา การอย่างใดอย่างหนึ่ง; บุคคลซึ่งตามกฎหมายเป็นผู้มีอํานาจให้ ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทํานิติกรรมบางอย่างซึ่งผู้เยาว์ไม่มี อํานาจตามกฎหมายที่จะทําเองโดยลําพัง.
  33. ฝากสู่ : (ถิ่น–อีสาน) ก. อนุญาตให้ชายสมสู่อยู่กินกับหญิงฉันผัวเมีย กันได้ตั้งแต่วันสู่ขอแล้วทําพิธีแต่งงานในภายหลัง.
  34. เภสัชกร : [เพสัดชะกอน] น. แพทย์ปรุงยา, ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม.
  35. ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  36. ยืมปาก : ก. อาศัยผู้อื่นพูดแทน เช่น ยืมปากครูขออนุญาตพ่อแม่ไปทัศนาจร.
  37. รถฉุกเฉิน : (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลางราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟ สัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณ อย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกําหนด.
  38. ละเมิดลิขสิทธิ์ : (กฎ) ก. กระทําอย่างหนึ่งอย่างใดต่องานที่มีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมาย ได้แก่ ทําซํ้าหรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์.
  39. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  40. ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
  41. ลิขสิทธิ์ : [ลิกขะสิด] น. สิทธิทางวรรณกรรม ศิลปกรรม และประดิษฐกรรม ซึ่งผู้เป็นต้นคิดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย; (กฎ) สิทธิแต่ผู้เดียว ที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตน ได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงาน นั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย. (อ. copyright).
  42. วิทยุสมัครเล่น : น. วิทยุคมนาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยุ สมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายศึกษาหาความรู้ให้ตนเอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางพาณิชย์.
  43. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  44. สัมปทาน : [สําปะทาน] (กฎ) น. การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและ ตามเงื่อนไขที่รัฐกําหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจําทาง สัมปทาน ทําไม้ในป่าสัมปทาน. (ป.).
  45. หมอความ : (ปาก) น. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, ทนาย หรือ ทนายความ ก็เรียก.
  46. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  47. ให้ออก : (กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้น จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ (๓) ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใด กรณีหนึ่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ ให้ออก เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
  48. อาชญาบัตร : [อาดยาบัด, อาดชะยาบัด] (กฎ) น. ใบอนุญาตซึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการ อาชีพบางอย่างตามเขตที่กําหนด.
  49. อายุ : น. เวลาที่ดํารงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมา จนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กําหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนําหน้าบางคํา, แต่เมื่อนําหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).
  50. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  51. [1-50]

(0.0749 sec)