Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อบรม , then อบรม, อปรม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อบรม, 37 found, display 1-37
  1. อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  2. วิเนต : ก. นํา, ชี้, ฝึกหัด, สั่งสอน, อบรม. (ป.).
  3. กล่อมเกลา : [-เกฺลา] ก. ทําให้เรียบร้อย, ทําให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
  4. กล่อมเกลี้ยง : ก. อบรมเลี้ยงดูให้มีนิสัยดี.
  5. แก่วัด : ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับ การอบรมจากวัดหรืออยู่วัดนาน; รู้มาก.
  6. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  7. ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
  8. จิตตภาวนา : (แบบ) น. การอบรมจิต.
  9. ใจสูง : ว. มีใจที่อบรมมาดี, มีใจใฝ่ในทางดี.
  10. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  11. ทัณฑนิคม : [ทันทะ-] (กฎ) น. สถานที่ควบคุมและฝึกอบรมนักโทษ เด็ดขาดในขั้นต่อจากเรือนจํา.
  12. ทุจจิณณะ : (แบบ) ว. ประพฤติชั่วแล้ว, ทําชั่วแล้ว, อบรมไม่ดี. (ป. ทุจฺจิณฺณ).
  13. เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  14. เนติบัณฑิต : น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียน กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสํานักศึกษา อบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.
  15. บ่ม : ก. ทําให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.
  16. บ่มนิสัย : ก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.
  17. บ่มบารมี : ก. บำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์, สั่งสมอบรมบารมีให้สมบูรณ์.
  18. ปอเนาะ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. โรงเรียนที่สอนหนังสือและอบรมศาสนาอิสลาม.
  19. ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
  20. พื้นดี : น. อารมณ์ดี; พื้นความรู้ดี. ว. ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาดี.
  21. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  22. ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก : (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.
  23. ราชทัณฑ์ : น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุม อบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
  24. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  25. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  26. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  27. วินิต : ก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  28. วิปัสสนา : [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
  29. ศิษฏ์ : ว. ฝึกแล้ว, คงแก่เรียน, อบรมแล้ว, มีปัญญา, มีความรู้. (ส.).
  30. สอนลูกให้เป็นโจร : (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลาย เป็นโจร.
  31. สะเก็ดตีนเมรุ : (ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ด ตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี.
  32. หลอม : [หฺลอม] ก. ทําให้ละลายด้วยความร้อน เช่น เขาหลอมทองคำด้วยไฟพ่น จากเป่าแล่น, โดยปริยายหมายถึงอบรมบ่มนิสัยให้มีจิตใจโน้มน้าวไป ทางใดทางหนึ่ง เช่น หลอมความคิด หลอมจิตใจ, หล่อหลอม ก็ว่า.
  33. หล่อหลอม : ก. อบรมบ่มนิสัยให้จิตใจโน้มน้าวไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หล่อหลอมจิตใจให้เป็นคนดี, หลอม ก็ว่า.
  34. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  35. อนุศาสนาจารย์ : [อะนุสาสะนาจาน, อะนุสาดสะนาจาน] น. อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรม ของหน่วยราชการ.
  36. อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
  37. อประไมย, อัประไมย : [อะปฺระไม, อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  38. [1-37]

(0.0596 sec)