Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาจาร , then อาจาร, อาจาระ .

Eng-Thai Lexitron Dict : อาจาร, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : อาจาร, 3 found, display 1-3
  1. อาจาร : (N) ; conduct ; Related:behavior ; Syn:ความประพฤติ, ความประพฤติดี
  2. อาจาร : (N) ; manner ; Related:politeness, etiquette, courtesy ; Syn:จรรยา, มรรยาท
  3. อาจาร : (N) ; custom ; Related:ethic ; Syn:ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาจาร, 7 found, display 1-7
  1. อาจาร, อาจาร : [จาน, จาระ] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
  2. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  3. มิจฉาจาร : น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
  4. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  5. อาจาร : ดู อาจาร, อาจาร.
  6. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  7. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.

Budhism Thai-Thai Dict : อาจาร, 5 found, display 1-5
  1. อาจารวิบัติ : เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย, ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต (ข้อ ๒ ใน วิบัติ ๔)
  2. อาจาร : ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา
  3. บุพพาจารย์ : 1.อาจารย์ก่อนๆ, อาจารย์รุ่นก่อน, อาจารปางก่อน 2.อาจารย์ต้น, อาจารย์แรก คือ มารดาบิดา
  4. วิบัติ : ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้ 1.วิบัติความเสียของภิกษุ มี ๔ อย่าง คือ ๑.ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล ๒.อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท ๓.ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย ๔.อาชีววิบัติ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ 2.วิบัติคือความเสียหายใช้ไม่ได้
  5. ศีลาจาร : ศีลและอาจาระ, การปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ และมารยาททั่วไป; นัยหนึ่งว่า ศีล คือไม่ต้องอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส อาจาระ คือ ไม่ต้องอาบัติเบาตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา

ETipitaka Pali-Thai Dict : อาจาร, 8 found, display 1-8
  1. อาจาร : (ปุ.) มรรยาทอันบุคคลพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ, ความประพฤติ, ความประพฤติที่ดี, ความประพฤติไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา, สีลสังวร, มารยาท, มรรยาท, มรรยาทอันดี, จรรยา, ขนบ, ธรรมเนียม, ระเบียบ, แบบแผน.ไตร.๓๕/๖๐๔.ส. อาจาร.
  2. อาจารกุสล : ค. ผู้ฉลาดในความประพฤติที่ดี
  3. อาจารโคจร : ค. ผู้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี, ผู้ตั้งมั่นอยู่ในมรรยาทที่ดี
  4. อาจารโคจรสมฺปนฺน : (วิ.) ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระอละโคจร.
  5. อาจาร : ค. ผู้มีมรรยาทดี, มีความประพฤติดี
  6. ตชฺชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ ภิกษุผู้อันสงฆ์จะต้องคุกคาม, ตัชนียกรรม เป็นชื่อการลงโทษอย่างหนึ่งตามพระวินัย ซึ่งสงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีความผิด ๓ ประการ คือ เป็นผู้ประพฤติไม่เหมาะสม คือ ๑ . ๑ มักทำการบาดหมาง ทะเลาะ – วิวาท ฯลฯ ๑ . ๒ เป็นพาลมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ . ๓ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่ สมควร เป็นผู้มีศีลวิบัติ อาจารวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ และ ๓. กล่าวติเตียน พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ลงตัชนิยกรรมได้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัติติจตุตถกรรมวาจา ไตร. ๖/๓
  7. อาจารวิปตฺติ : (อิต.) อันเคลื่อนคลาดโดยความประพฤติ, อาจารวิบัติ, (เสียมารยาททางความประพฤติ, ความประพฤติเสีย).
  8. มริยาท : (ปุ.) อาจาระ, มรรยาท, มารยาท (กิริยาที่ถือว่าเรียบร้อย). กฏ. วิ. ปริจฺฉินฺทิตฺวา อาทียเตติ มริยาทา. ปริ อาปุพฺโพ, ทา อาทาเน, อ. แปลง ป เป็น ม ยฺ อาคม. ศัพท์หลัง อา อิต. เป็น มาริยาทา ก็มี. ส. มรฺยาท.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อาจาร, 1 found, display 1-1
  1. มารยาท : อาจาโร

(0.1084 sec)