Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อี , then อิ, อี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อี, 70 found, display 1-50
  1. อี : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  2. อี : น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ใน การเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
  3. อีฉุยอีแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็น ชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีหลุยฉุยแฉก ก็ว่า.
  4. อีล่อยป่อยแอ : (โบ) ว. ชักช้า, อืดอาด, อีล่อยป้อยแอ ก็ว่า.
  5. อีเลิ้ง : น. เรียกตุ่มหรือโอ่งใหญ่ว่า ตุ่มอีเลิ้ง หรือ ตุ่มนางเลิ้ง, โอ่ง นครสวรรค์ ก็เรียก; โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เทอะทะ.
  6. อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
  7. อีหลุยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
  8. อีโหน่อีเหน่ : น. เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใช้ในทางปฏิเสธในสำนวนว่า ไม่รู้ อีโหน่อีเหน่.
  9. อีเกร็ง : [เกฺร็ง] ดู เหงือกปลาหมอ.
  10. อีเก้อีกัง : ว. เก้กัง.
  11. อีคว่ำอีหงาย : น. เรียกการเล่นชนิดหนึ่งในจําพวกหมากแยก ซึ่งมีการกินหงายเบี้ย.
  12. อีชุก : ดู ค้าว.
  13. อีดอก : น. คำที่ใช้ด่าผู้หญิง.
  14. อีดำอีแดง ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ ไม้ดำไม้แดง ก็เรียก.
  15. อีดำอีแดง ๒ : น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นสีดําสีแดงตามตัว.
  16. อีตัว : น. เบี้ยใช้ทอยในการเล่นบางอย่างเช่นต้องเต.
  17. อีโนงโตงเนง : ว. รุงรัง; ไม่รู้จักแล้ว.
  18. อีเบ้อ : (ถิ่นพายัพ) น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ๑).
  19. อีหน็องอีแหน็ง : ว. กะหน็องกระแหน็ง.
  20. อีหลักอีเหลื่อ : [เหฺลื่อ] ว. อึดอัดใจ, ลําบากใจ, อลักเอลื่อ อาหลักอาเหลื่อ หรือ อิหลักอิเหลื่อ ก็ว่า.
  21. อีหลุกขลุกขลัก : ว. ติดขัด, ไม่สะดวก, ไม่คล่อง.
  22. อีหลุกขลุกขลุ่ย : ว. ง่วนอยู่.
  23. อีเหน็บ : น. มีดเหน็บ.
  24. อีเหนียว : ดู กระดูกอึ่ง.
  25. อีเหละเขละขละ, อีเหละเขะขะ : [เหฺละเขฺละขฺละ, เหฺละ] ว. เกะกะ, เกลื่อนกลาด.
  26. อีเหลียน : น. มีดเหลียน.
  27. มีดอีเหน็บ : น. มีดเหน็บ.
  28. มีดอีเหลียน : น. มีดเหลียน.
  29. ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ : (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น.
  30. อกอีปุกแตก, อกอีแป้นแตก : อ. คำพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจเป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง).
  31. อีทุก, อีทุบ : ดู ค้าว.
  32. ทีฆสระ : น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทย ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
  33. ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  34. นาง ๒ : ใช้แทนคําว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคําเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม
  35. นางแอ่น. : (ดู อี). น. คําเรียกหญิง มักกล่าวเป็นเชิงเหยียดหยามเป็นต้น, พูดเป็นเสียงสั้นว่า นัง ก็มี.
  36. ฝนทอง : น. เครื่องหมายรูปสระ เป็นรูปรอยขีดเดียวดังนี้ ? สําหรับเขียน บนพินทุ อิ เป็นสระ อี; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.
  37. ไม้ฝนทอง : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ?สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้เสียบหนู ก็เรียก.
  38. ไม้เสียบหนู ๒ : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ' สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้ฝนทอง ก็เรียก.
  39. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  40. กว่าง : [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.
  41. กอล์ฟ : [กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
  42. กะหน็องกะแหน็ง : ว. แปร่ง, ไม่ชัด, ฟังไม่ออก, (ใช้แก่การพูด), หน็องแหน็ง หรือ อีหน็องอีแหน็ง ก็ว่า.
  43. ไก่นา : น. ชื่อนกคุ่มสีชนิด Coturnix chinensis และนกหลายชนิด ในวงศ์ Rallidae เช่น กวัก (Amaurornis phoenicurus) อีล้า (Gallinula chloropus) อีโก้ง (Porphyrio porphyrio). (ปาก) ว. โง่, เซ่อ.
  44. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  45. ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
  46. นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น : (สํา) ก. ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น, ไม่รู้อีโหน่ อีเหน่.
  47. บ้อ, บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน ''เอา มารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือ วงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ''อีตัว'' โยน ลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็น ฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยน อีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า ''อู้ไว้'' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่ โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
  48. ปลาดำปลาแดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ไม้ดำไม้แดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  49. ผีเสื้อ ๑ : น. ชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลําตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมอง ด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทําให้เกิดสีต่าง ๆ กันปากเป็นงวงยาวม้วน เข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียกผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินใน เวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย.
  50. มีดเหน็บ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำ เป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือ หวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, มีดอีเหน็บ ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-70

(0.0750 sec)