Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อุปสมบท .

Eng-Thai Lexitron Dict : อุปสมบท, 2 found, display 1-2
  1. Buddhist ordination : (N) ; อุปสมบท ; Related:บรรพชา, การบวช
  2. priesthood : (N) ; การอุปสมบท ; Related:การบวชพระ, การผนวช ; Syn:clergy, monasticism

Thai-Eng Lexitron Dict : อุปสมบท, 12 found, display 1-12
  1. อุปสมบท : (V) ; go into priesthood ; Related:to be ordained ; Syn:บวช, บรรพชา ; Def:บวชเป็นภิกษุ ; Samp:ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพศฆราวาสจึงตัดสินใจอุปสมบทสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง
  2. การอุปสมบท : (N) ; ordination ; Syn:การบวช, การบรรพชา ; Def:การบวชเป็นภิกษุ
  3. ผนวช : (V) ; ordain ; Related:enter Buddhist priesthood, tonsure ; Syn:บวช, อุปสมบท, บรรพชา ; Ant:สึก ; Def:คำราชาศัพท์หมายถึงถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่นๆ ; Samp:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร
  4. โบสถ์ : (N) ; Buddhist temple ; Related:Buddhist monastery ; Def:สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์ ; Samp:พระสงฆ์ทั้งหมดลงโบสถ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสวดพระปาติโมกข์
  5. คู่สวด : (N) ; co deliverer of prayer ; Related:pair of monks who chant the ordination service ; Def:พระ 2 รูปที่ทำหน้าที่สวดญัตติในการอุปสมบทหรือการกฐินเป็นต้น ; Samp:พระวิจิตรกับพระยศเป็นคู่สวดในการอุปสมบทครั้งนี้
  6. ถุงตะเครียว : (N) ; a bag which is closed by means of a string run through loops ; Syn:ถุงตะเคียว ; Def:ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหม เป็นต้น เป็นตาโปร่ง มีหูรูด สำหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท) ; Unit:ใบ, ลูก
  7. สงฆ์ : (N) ; Buddhist monk ; Syn:ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์, พระสงฆ์ ; Def:ชายที่อุปสมบทในพุทธศาสนา ; Samp:ลูกศิษย์ต้องไหว้กราบครู ไม่ว่าจะเป็นครูที่เป็นสงฆ์หรือเป็นฆราวาสก็ตาม ; Unit:องค์, รูป
  8. จ่ายหนี้ : (V) ; settle ; Related:pay a debt, disburse, repay ; Syn:ชำระหนี้, ใช้หนี้, ใช้หนี้ใช้สิน ; Samp:บิดาของเขาจะจ่ายหนี้ให้เขา โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องอุปสมบท
  9. จ่ายหนี้ : (V) ; settle ; Related:pay a debt, disburse, repay ; Syn:ชำระหนี้, ใช้หนี้, ใช้หนี้ใช้สิน ; Samp:บิดาของเขาจะจ่ายหนี้ให้เขา โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจะต้องอุปสมบท
  10. เจ้าอธิการ : (N) ; abbot ; Related:chief monk ; Def:พระที่ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบลซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น ; Samp:เขาได้อุปสมบท ณ อุโบสถวัดท่าคอยโดยมีเจ้าอธิการฉิมวัดท่าคอยเป็นพระอุปัชฌาย์
  11. ถวายพระเพลิง : (V) ; cremate ; Syn:เผาศพ, ฌาปนกิจ, พระราชทานเพลิงศพ ; Samp:เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบทแล้วได้ไปถวายพระเพลิงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ณ พระเมรุท้องสนามหลวงพร้อมด้วยพระอุปัชฌาย์
  12. ภิกษุณี : (N) ; Buddhist nun ; Syn:พระภิกษุณี ; Ant:ภิกษุ ; Def:หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ; Samp:ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เป็นผู้ซึ่งมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณีให้ได้ ; Unit:รูป, องค์

Royal Institute Thai-Thai Dict : อุปสมบท, more than 5 found, display 1-5
  1. อุปสมบท : [อุปะสมบด, อุบปะสมบด] ก. บวชเป็นภิกษุ. (ป. อุปสมฺปทา).
  2. อุปสมบทกรรม : [บดทะกำ] น. การบวชเป็นภิกษุ.
  3. บรรพชา : [บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทําได้ยาก, ถ้า ใช้เข้าคู่กับคํา อุปสมบท บรรพชาหมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชา เป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
  4. โบสถ์ : น. สถานที่สําหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทําสังฆกรรม เช่น สวด พระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลม เรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคําว่า อุโบสถ). (ป. อุโปสถ).
  5. ศาสนพิธี : น. พิธีกรรมทางศาสนา เช่น พิธีทอดกฐิน พิธี อุปสมบท เป็นศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : อุปสมบท, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : อุปสมบท, more than 5 found, display 1-5
  1. อุปสมบท : การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุหรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี, การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ดู อุปสัมปทา
  2. บรรพชา : การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
  3. วรรค : หมวด, หมู่, ตอน, พวก ; กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ ๑.สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณาให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน) ๒.สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท) ๓.สงฆ์ทสวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้) ๔.สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)
  4. สมบัติ๒ : ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑.วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒.ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓.สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔.กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕.อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ
  5. ติสรณคมนูปสัมปทา : อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา
  6. Budhism Thai-Thai Dict : อุปสมบท, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : อุปสมบท, more than 5 found, display 1-5
  1. อุปสมฺปชฺชติ : ก. เข้าถึง, ถึงพร้อม, อุปสมบท, บวช
  2. ปพฺพชฺชา : (อิต.) การเว้น, การละเว้น, การบวช, บรรพชา (การละเว้นจากการทำชั่ว ทุกอย่าง ). บรรพชานั้นต้องเว้นจากเมถุน ธรรม การบวชในศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม ถ้าเว้นจากกามกิจแล้วเรียกว่าบรรพชาได้. ความหมายของคำ ปพฺพชา นั้น คือการออกจากความเป็นฆราวาส ไปประพฤติตน เป็นนักบวช ต่อมามีพระบัญญัติให้ผู้ที่มี อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์บวช เรียกผู้ที่ บวชนั้นว่า สามเณร สามเณรี จึงแยกการบวชออกเป็น ๒ คือ บวชเป็นภิกษุ เรียกว่า อุปสมบท บวชเป็น สามเณร สามเณรี ว่า บรรพชา. ปปุพฺโพ, วชฺชฺ วชฺชฺเน, อ, อิตฺถิยํ อา. กัจฯ ๖๓๘ รูปฯ ๖๔๔ วิ. ปฐเมว วชิตพฺพาติ ปพฺพชฺชา. ปฐมปุพฺโพ, วชฺ คติยํ, โณฺย ภาวกมฺเมสุ. แปลง ชฺย เป็น ชฺช แปลง ว เป็น วฺว แล้วแปลงเป็น พฺพ. โมคฯ ลง ย ปัจ. ส. ปฺรวรชฺยา.
  3. ญตฺติจตุตฺถกมฺมอุปสมฺปทา : (อิต.) การอุปสมบทด้วยกรรมวาจามีญัตติเป็นที่สี่.
  4. ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
  5. ติสรณคมนุปสฺปทา ติสรณคมนูปสมฺปทา : (อิต.)การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม, ติสรณคมนุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา คือการอุปสมบทด้วยการปกิญญาณตน ถึงไตรสรณคมน์ เป็นชื่อของวิธีอุปสมบท อย่างที่ ๒ ใน ๓ อย่าง เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาต วิธีอุปสมบทอย่างที่ ๓ แล้ว ทรงอนุญาตวิธีอย่างที่ ๒ นี้เป็นวิธี บรรพชาการบวชเป็นสามเณร.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : อุปสมบท, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อุปสมบท, not found

(0.0446 sec)