Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เขา , then ขา, เข, เขา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เขา, 1320 found, display 1-50
  1. เขา : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า.
  2. เขา : น. เถาวัลย์ เช่น เครือเขา.
  3. เขา : น. เนินที่นูนสูงขึ้นไปเป็นจอมเด่น.
  4. เขา : น. สิ่งที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก มีลักษณะแข็ง.
  5. เขากวาง ๑ : ดูใน เขา.
  6. เขากวางอ่อน : น. เขากวางที่งอกใหม่หลังผลัดเขา มีหนังอ่อนนุ่มหุ้ม มีขนสั้นสีน้ำตาลเป็นมัน นิยมใช้ทำยา.
  7. เขาแกะ : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis coelestis Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae ใบโค้ง ๆ คล้ายเขาแกะ ดอกสีฟ้าอมม่วง.
  8. เขากวาง ๑ : น. ชื่อขวากชนิดหนึ่งทําด้วยต้นไม้หรือกิ่งไม้ เสี้ยมปลาย ให้แหลมเพื่อกีดขวางข้าศึก.
  9. เขากวาง ๒ : ดู ปะการัง.
  10. กันเขากันเรา : (ปาก) ว. พวกเขาพวกเรา.
  11. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  12. ควายเขาเกก : น. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคน ที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.
  13. คาหนังคาเขา : (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับ ของกลาง, ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
  14. ถือเขาถือเรา : ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเรา ถือเขา ก็ว่า.
  15. ถือเราถือเขา : ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเขา ถือเรา ก็ว่า.
  16. เทือกเขา : น. แนวเขาที่ต่อเนื่องกันไปเป็นพืด.
  17. ลาดเขา : น. ภูมิประเทศชายเขาที่ไม่ถึงกับราบ แต่ก็ไม่ชัน.
  18. วัวเขาเกก : น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
  19. ไหล่เขา : น. ส่วนของเขาที่ถัดยอดเขาลงมา.
  20. กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
  21. เครือเขา : น. เถาวัลย์.
  22. เครือเขาน้ำ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma lanceolarium Planch. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลําต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลําต้นกินได้.
  23. เครือเขามวก : ดู มวก.
  24. เชือกเขา : น. เถาวัลย์.
  25. พลับเขา : ดู กระดูกค่าง.
  26. รื้อแต่หลังคาเขา หลังคาเราไม่รื้อ : (สํา) ก. คิดแต่จะเอาของผู้อื่นมาใช้ ของของตัวเก็บไว้, คิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้.
  27. รู้เขารู้เรา : ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.
  28. ลมพัดชายเขา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  29. ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง : (สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำ ในเรื่องนั้นเสียเอง.
  30. หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด : (สํา) น. คนที่เข้าไปขัดขวางขณะที่ผู้อื่น ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งกําลังจะสําเร็จ.
  31. เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น, เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสาน :
  32. โหรากระบือ, โหราเขาเนื้อ : น. ชื่อเรียกเฟินชนิด Diplazium dilatatum Blume ในวงศ์ Athyriaceae และชนิด Microlepia platyphylla (Don) J. Smith ในวงศ์ Dennstaedtiaceae.
  33. เอาใจเขามาใส่ใจเรา : (สำ) ก. ให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น.
  34. เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม : (สำ) ก. เอาลูกของคนอื่นมา เลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้.
  35. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  36. กิเลน : น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตําราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.
  37. ขโมย : [ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่ง ที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขา ขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.
  38. ขอ ๓ : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้น และใบเขียว เนื้อเหลือง มีสรรพคุณอยู่คงเขี้ยว เขา และงา. (กบิลว่าน).
  39. เบญจบรรพต : น. เขา ๕ ยอด คือ เขาหิมาลัย.
  40. ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
  41. พร้อมใจ : ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขา พร้อมใจกันทำงาน.
  42. เพื่อน ๒ : (ปาก) ส. คําใช้แทนคําว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง.
  43. ภู ๒ : น. เนินที่สูงขึ้นเป็นจอม, เขา.
  44. ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
  45. รุก ๑ : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตของผู้อื่น เช่น รุกที่ดิน ทำไร่รุกเข้าไปในเขตหวง ห้าม, โดยปริยายหมายถึงคุกคามให้ถอยร่นหรือต้อนให้จนมุม เช่น เขา ถูกนายรุกเสียจนตั้งตัวไม่ติด; เดินตัวหมากรุกเข้าไปกระทบตาขุนของ อีกฝ่ายหนึ่ง.
  46. ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  47. ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
  48. ส่งภาษา : ก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่งโดยกล่าวคําเป็น ภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็น ภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขา ส่งภาษาถิ่น'' มาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.
  49. สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
  50. สมบูรณ์ : ก. บริบูรณ์ เช่น สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ สมบูรณ์ด้วยข้าทาสบริวาร, ครบถ้วน เช่น หลักฐานยังไม่สมบูรณ์; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น เขา สมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้สุขภาพเขาสมบูรณ์ดีแล้ว. ว. มีคุณสมบัติหรือ คุณลักษณะครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามกำหนด; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพสมบูรณ์. (ส.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1320

(0.1063 sec)