Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจอ , then จอ, เจอ, เจอะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจอ, 53 found, display 1-50
  1. เจอ, เจอ : ก. พบ, เห็น, ประสบ, ประจวบ.
  2. พบ : ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
  3. จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
  4. จ๊ะ ๒ : ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
  5. จังหน้า : ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  6. ประเชิญ : ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาด กลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
  7. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  8. เผชิญภัย : ก. เจออันตรายเฉพาะหน้า, กล้าเสี่ยงภัยโดยรู้ว่าจะมี อันตราย.
  9. เผชิญหน้า : ก. เจอกันซึ่งหน้า (ใช้แก่ผู้ที่ไม่ชอบหน้ากัน).
  10. พบพาน : ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบ พบพาน.
  11. ศิลป์ไม่กินกัน. : (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สํา) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใด ต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
  12. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  13. จอ ๑ : น. ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย.
  14. กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
  15. จ่อ ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามี ใจจดจ่อกับงาน.
  16. จ่อ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็น ช่องโค้งอยู่ภายในใช้เลี้ยงตัวไหม.
  17. เจ่อ : ก. อาการที่ปากบวมยื่นออกมาหรือมีลักษณะเช่นนั้น.
  18. นักษัตร ๒ : [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
  19. จรกลู่ : [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้น กลางโพยมากาศ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  20. จรจรัล : [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  21. จรดล : [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
  22. จรบาท : [จอระ-] (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคําว่า บทจร. undefined
  23. จรมัน : [จอระ-] (กลอน) ก. ทําให้มั่น, ทําให้แข็งแรง.
  24. จรลวง, จรล่วง : [จอระ-] (กลอน) ก. ล่วงไป, ลับไป.
  25. จรลาย : [จอระ-] (กลอน) ก. ละลายไป, หายไป.
  26. จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  27. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  28. จรลี : [จอระ-] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย.
  29. จรลู่ : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
  30. จระเข้ : [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณ ป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของ รูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้ เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้า มีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  31. กระจกเว้า : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถ สะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.
  32. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  33. กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูก ตีแตกกระเจิดกระเจิงไป. (ดู กระเจอะกระเจิง).
  34. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  35. กุกกุร- : [-กุระ-] (แบบ) น. สุนัข, ลูกสุนัข, เช่น กุกกุร สังวัจฉร (ปีจอ). (ป.).
  36. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  37. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  38. จู้ ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
  39. ฉายหนัง : (ปาก) ก. ฉายแสงผ่านฟิล์มภาพยนตร์ให้ปรากฏภาพเคลื่อนไหว บนจอ.
  40. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  41. ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
  42. ใบแดงแจ้งโทษ : (กฎ; เลิก) น. เอกสารที่กรมตํารวจออกเพื่อแสดง ว่าผู้นั้นเคยต้องโทษในคดีอาญามาแล้ว เดิมใช้กระดาษสีแดง.
  43. ภาพจริง : (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกเว้าหรือเลนส์นูน ลักษณะเป็น ภาพหัวกลับ ใช้จอรับได้.
  44. ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
  45. ภาพเสมือน : (แสง) น. ภาพที่เกิดจากกระจกนูน กระจกเงาพื้นราบ หรือ เลนส์เว้า ลักษณะเป็นภาพหัวตั้ง ใช้จอรับไม่ได้.
  46. ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
  47. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  48. ร่อ : (กลอน) ก. จ่อ, จด. ว. ใกล้.
  49. รอ ๒ : ก. คอย เช่น รอรถ รอเรือ; ยับยั้ง เช่น รอการพิจารณาไว้ก่อน รอการลง อาญาไว้ก่อน; เกือบจด, จ่อ, เช่น เอายาดมรอจมูก เอามีดรอคอ.
  50. หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
  51. [1-50] | 51-53

(0.0606 sec)