Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าอาวาส, อาวาส, เจ้า , then จา, เจ้, เจ้า, เจ้าอาวาส, อาวาส .

Budhism Thai-Thai Dict : เจ้าอาวาส, 227 found, display 1-50
  1. เจ้าอาวาส : สมภารวัด, หัวหน้าสงฆ์ในวัด มีอำนาจและหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด
  2. อาวาส : ที่อยู่, โดยปกติหมายถึงที่อยู่ของพระสงฆ์ คือ วัด
  3. เจ้ากรม : หัวหน้ากรมในราชการ หรือในเจ้านายที่ทรงกรม
  4. เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
  5. อาวาสปลิโพธ : ความกังวลในอาวาส คือ ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไปแต่ยังผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา (เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้กฐินยังไม่เดาะ); ในการเจริญกรรมฐาน หมายถึงความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ห่วงงานก่อสร้างในวัด มีสิ่งของที่สะสมเอาไว้มาก เป็นต้น เมื่อจะเจริญกรรมฐาน พึงตัดปลิโพธนี้ให้ได้ ดู ปลิโพธ
  6. เจ้าภาพ : เจ้าของงาน
  7. เจ้าสังกัด : ผู้มีอำนาจในหมู่คนที่ขึ้นอยู่กับตน
  8. เจ้าอธิการแห่งคลัง : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่างคือ ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชชกะ)
  9. เจ้าอธิการแห่งจีวร : คือ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับจีวร ๓ อย่างคือ ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก) ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก) ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)
  10. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)
  11. เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
  12. เจ้าอธิการแห่งอาหาร : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก) ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)
  13. อาวาสมัจฉริยะ : ตระหนี่ที่อยู่ ได้แก่ หวงแหน ไม่พอใจให้ใครๆ เข้ามาอยู่แทรกแซง หรือกีดกันผู้อื่นที่มิใช่พวกของตนไม่ให้เข้าอยู่ (ข้อ ๑ ในมัจฉริยะ ๕)
  14. วินัยมุข : มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆ หรือหัวข้อสำคัญๆ ทีเป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัย หรือเป็นปากทางนำเข้าสู่วินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงาย ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุผลเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฏิบัติอันดี ต่างจะได้อานิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ
  15. อธิการ : 1) เรื่อง, ตอน เช่น ในอธิการนี้ หมายความว่า ในเรื่องนี้ ในตอนนี้ 2) อำนาจ, การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ, เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และเรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ
  16. พระผู้มีพระภาคเจ้า : พระนามของพระพุทธเจ้า
  17. พระสัมพุทธเจ้า : พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
  18. พุทธเจ้า : ดู พระพุทธเจ้า และ พุทธะ
  19. อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า : พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึง พระพุทธเจ้า
  20. กติกา : (ในคำว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์) ข้อตกลง, ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย ทายกกล่าวคำถวายว่า ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์ ลาภที่ทายกถวายนั้น ย่อมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย
  21. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  22. อูเน คเณ จรณํ : การประพฤติ (วัตร) ในคณะอันพร่อง คือ ประพฤติในถิ่น เช่น อาวาส ที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบองค์สงฆ์ คือไม่ถึง ๔ รูป แต่ที่นิยมปฏิบัติกันมาไม่ต่ำกว่า ๕ รูป; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของรัตติเฉทแห่งมานัตต์ ดู รัตติเฉท
  23. กรมการ : เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
  24. กัญจนา : เจ้าหญิงแห่งเทวทหนครเป็นมเหสีของพระเจ้าสีหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธัตถะ
  25. กิมพิละ : เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
  26. ติตถกร : เจ้าลัทธิ หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ ๑.ปูรณกัสสป ๒.มักขลิโคสาล ๓.อชิตเกสกัมพล ๔.ปกุทธกัจจายนะ ๕.สัญชัยเวลัฏฐบุตร ๖.นิครนถนาฏบุตร มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖
  27. ปมิตา : เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตา เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
  28. โพธิราชกุมาร : เจ้าชายโพธิ พระราชโอรสของพระเจ้าอุเทน พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ
  29. ภัคคุ : เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ที่ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้บรรลุพระอรหัต และเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งเขียน ภคุ ก็มี
  30. มายา : เจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระราชชนนี ของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระพุทธมารดา เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางก็สวรรคต, คำว่า “มายา” ในที่นี้ มิได้หมายความว่า มารยา ที่แปลว่า เล่ห์เหลี่ยม หรือล่อลวง แต่หมายถึงความงามที่ทำให้ผู้ประสบงวยงงหลงใหล, นิยมเรียกว่า พระนางสิริมหามายา
  31. วัฑฒลิจฉวี : เจ้าลิจฉวีชื่อว่าวัฑฒะ ถูกพระเมตติยะ และพระภุมมชกะเสี้ยมสอนให้ทำการโจทพระทัพพมัลลบุตร ด้วยอาบัติปฐมปาราชิก เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติการลงโทษคว่ำบาตร
  32. สังฆการี : เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง, เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานในการพิธีสงฆ์ มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยาสังกัดในกรมสังฆการี ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการเรียกรวมว่ากรมธรรมการสังฆการี เดิมเรียกว่า สังกะรีหรือสังการี เปลี่ยนเรียกสังฆการีในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน พ.ศ.๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๕๔ กรมสังฆการีจึงแยกเป็นกรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๗๖ กรมสังฆการีถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาอีกใน พ.ศ.๒๔๘๔ กรมธรรมการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมศาสนา และในคราวท้ายสุด พ.ศ.๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี; บางสมัยสังฆการีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง มิใช่เป็นเพียงเจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย
  33. สังฆิกาวาส : อาวาสที่เป็นของสงฆ์, อาวาสของสงฆ์
  34. สากิยานี : เจ้าหญิงวงศ์ศากยะ
  35. อมิตา : เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระกนิษฐภคินี ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
  36. อัยการ : เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักร จัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง, ทนายแผ่นดิน, ทนายหลวง
  37. ภัททา กัจจานา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกสิยวงศ์ พระนามเดิมว่า ยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททากัจจานา เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา เรียกภัททกัจจานา ก็มี
  38. พิมพา : บางแห่งเรียกยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา หรือ ภัททา กัจจานา
  39. ยโสธรา : 1.เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอัญชนะผู้ครองกรุงเทวทหะ เป็นพระมารดาของพระนางสิริมหามายา และพระนางปชาบดีโคตมี 2.อีกชื่อหนึ่งว่าพิมพา เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ เป็นมารดาของพระราหุล ต่อมาออกบวช เรียกชื่อว่า พระภัททา กัจจานา
  40. สังคีติ : ๑.การสังคายนา ดู สังคายนา๒.ในคำว่า “บอกสังคีติ” ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบทท่านสันนิษฐานว่า หมายถึงการประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้ เช่น สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์
  41. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  42. กษัตริย์ : พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ - 1.a man of the warrior caste; the warrior ruler; nobles. 2.a king.
  43. กัจจายนปุโรหิต : ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท มีชื่อในพระศาสนา ว่าพระมหากัจจายนะ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร
  44. กาฬุทายี : อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นสหชาติและเป็นพระสหายสนิทของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ กาฬุทายีไปเฝ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส
  45. กีสาโคตมี : พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทรงทรงจีวรเศร้าหมอง
  46. กุมารกัสสปะ : พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์ คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ ภายหลังเรียกกันว่า กุมารกัสสปะ เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร
  47. กุมารีภูตา : ผู้เป็นนางสาวแล้ว หมายถึง สามเณรีที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณี เช่น ในคำว่า อิฉันเป็นนางสาว (กุมารีภูตา) ของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ ๒๐ ปีเต็ม มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์เจ้าข้า
  48. โกลิยวงศ์ : ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และ พระนางพิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์
  49. ข้าวสุก : ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ ข้าวสุกในที่นี้หมายถึงธัญญชาติทุกชนิด ที่หงให้สุกแล้ว เช่นข้าวเจ้าข้าวเหนียว หรือที่ตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่น ข้าวมัน ข้าวผัด เป็นต้น
  50. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-227

(0.0192 sec)