Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เฉลี่ย , then ฉลย, เฉลี่ย .

Eng-Thai Lexitron Dict : เฉลี่ย, 13 found, display 1-13
  1. average : (VT) ; หาค่าเฉลี่ย ; Related:เฉลี่ย ; Syn:make, earn, perform, do
  2. quick time : (N) ; อัตราการเดินแถวของทหารในกองทัพ (เฉลี่ย 120 ก้าวต่อนาที)
  3. average out : (PHRV) ; คิดเฉลี่ย ; Related:เฉลี่ย, คิดถัวเฉลี่ย
  4. grade point average : (N) ; คะแนนเฉลี่ย (คำย่อคือ GPA) ; Syn:grade point index
  5. middleweight : (N) ; นักมวยที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 14 -160 ปอนด์
  6. median : (N) ; ค่ากลาง (ทางคณิตศาสตร์) ; Related:ค่ามีเดียน, ค่าเฉลี่ย ; Syn:average, center
  7. norm : (N) ; มาตรฐาน ; Related:ค่าปกติ, ค่าเฉลี่ย, ค่ากลาง ; Syn:average, norm, middle
  8. run-of-the-mill : (SL) ; โดยทั่วไป ; Related:โดยเฉลี่ย
  9. run-of-the-mine : (ADJ) ; ทั่วไป ; Related:โดยเฉลี่ย, ธรรมดา, ไม่พิเศษ ; Syn:run-of-mine, average, ordinary

Thai-Eng Lexitron Dict : เฉลี่ย, more than 7 found, display 1-7
  1. เฉลี่ย : (ADJ) ; average ; Related:mean ; Syn:ค่าเฉลี่ย ; Samp:เขาเป็นเด็กที่ฉลาดเรียนดี ได้เกรดเฉลี่ย 3.6 %
  2. เฉลี่ย : (V) ; average ; Related:balance out to, make on average, to estimate an average ; Samp:ชาวประมงในหมู่บ้านนี้ เฉลี่ยแล้วแต่ละคนมีรายได้ 500-600 บาทต่อเดือน
  3. เฉลี่ย : (V) ; share ; Related:divide, assign, distribute ; Syn:แบ่ง, หาร ; Def:แบ่งส่วนให้เท่าๆ กัน ; Samp:ทุกคนเฉลี่ยกันเพื่อจ่ายค่าอาหาร
  4. ถัวเฉลี่ย : (V) ; average ; Related:take the mean ; Syn:เฉลี่ย ; Def:ทำให้มีส่วนเท่าๆ กัน ; Samp:รายได้ของเราสองคนเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วก็ประมาณคนละ 15,000 บาท
  5. ถัวเฉลี่ย : (ADJ) ; average ; Syn:เฉลี่ย ; Def:ที่มีส่วนเท่าๆ กัน ; Samp:ปัจจุบันประชาชนมีอายุถัวเฉลี่ยมากขึ้น
  6. ถัว : (V) ; average ; Related:share, divide, take the mean ; Syn:เฉลี่ย ; Def:ทำให้มีส่วนเสมอกัน ; Samp:พวกเขาถัวเงินกันทุกครั้งที่ไปกินอาหารร่วมกัน
  7. ค่าเฉลี่ย : (N) ; mean ; Related:average, medium, median, ordinary, moderate ; Syn:ค่ากลาง, ค่าถัวเฉลี่ย ; Samp:จากการสำรวจใน 3 ครั้งแรกระหว่างค.ศ. 1981 - 1987 นั้นค่าเฉลี่ยของเพศสัมพันธ์นักเรียนมัธยมญี่ปุ่นสูงขึ้นสม่ำเสมอสอดคล้องกับการเปิดกว้างมากขึ้น
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : เฉลี่ย, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : เฉลี่ย, 10 found, display 1-10
  1. เฉลี่ย : [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
  2. ถัว : ก. ทําให้มีส่วนเสมอกัน, เฉลี่ย. (จ.).
  3. ไร ๔ : ก. เฉลี่ย, ใช้เข้าคู่กับคํา เรี่ย เป็น เรี่ยไร.
  4. เบียกบ้าย : ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียดแว้ง ก็ใช้.
  5. เบียดแว้ง : ก. เฉลี่ยมาแห่งละเล็กละน้อย, เบียกบ้าย ก็ใช้.
  6. ปันส่วน : ก. แบ่งเฉลี่ยตามส่วน. ว. ที่แบ่งเฉลี่ยตามส่วน เช่น ข้าวปันส่วน.
  7. ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
  8. ระดับทะเลปานกลาง : น. ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล ซึ่งคํานวณจากผล การตรวจระดับนํ้าทะเลขึ้นลงในที่ใดที่หนึ่งที่ได้บันทึกติดต่อกันไว้เป็น ระยะเวลานาน, ใช้ย่อว่า ร.ท.ก. (อ. mean sea level).
  9. หน่วยดาราศาสตร์ : น. หน่วยที่ใช้วัดระยะทางในระบบสุริยะ ๑ หน่วย ดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับ ระยะทางเฉลี่ยระหว่างจุดศูนย์กลางของโลก กับจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ คือ ประมาณ ๑๔๙.๖ x ๑๐๙ เมตร หรือประมาณ ๙๒.๙ ล้านไมล์. (อ. astronomical unit; อักษรย่อ A.U.).
  10. เฉลย : [ฉะเหฺลย] ก. อธิบายหรือชี้แจงข้อปัญหาต่าง ๆ ให้เข้าใจ เช่น เฉลยปัญหา เฉลยความ. (ข. เฉฺลิย ว่า ตอบ).

Budhism Thai-Thai Dict : เฉลี่ย, 6 found, display 1-6
  1. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  2. จาคสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น ดู สัมปรายิกัตถะ
  3. ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  4. ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
  5. ปัตติทานมัย : บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
  6. มัธยม : มีในท่ามกลาง; ระดับกลาง; เที่ยงวัน หมายถึงเวลาเที่ยงที่ปรากฏตามเงาแดด ถ้าเป็นเวลาที่คิดเฉลี่ยกันแล้วเรียกว่า สมผุส

ETipitaka Pali-Thai Dict : เฉลี่ย, not found

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เฉลี่ย, not found

(0.1781 sec)