Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เชาวน์ปัญญา, เชาวน์, ปัญญา , then ชาวนปญญา, เชาวน์, เชาวน์ปัญญา, บัญญา, เบญญา, ปญญา, ปญฺญา, ปัญญะ, ปัญญา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เชาวน์ปัญญา, 121 found, display 1-50
  1. เชาวน์ : [เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).
  2. ปัญญา : น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).
  3. ชวน ๒ : [ชะวะนะ] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็ว ของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).
  4. ปัญญาวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็น โลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
  5. ปัญญาแค่หางอึ่ง : (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
  6. ปัญญาชน : น. คนที่มีความรู้หรือความฉลาดอันเกิดแต่การเรียน มามาก.
  7. ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
  8. เบญญา : น. ปัญญา.
  9. ไหวพริบ : น. ปัญญาไวรู้เท่าทัน, เชาวน์ไว.
  10. ทุปปัญญา : [ทุบ-] (แบบ) น. ปัญญาทราม. (ป.).
  11. เบาปัญญา : ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
  12. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  13. สติปัญญา : น. ปัญญารอบคอบ, ปัญญารู้คิด, เช่น เขาเป็นคนมีสติปัญญาดี.
  14. หัว ๒ : น. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม, เช่น เด็กคนนี้มีหัวทาง ดนตรี; ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หัวกฎหมาย; ปัญญา, ความคิด, เช่น หัวดี หัวไว.
  15. : พยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.
  16. ธิติ : (แบบ) น. ความทรงไว้, ความมั่นคง, ปัญญา. (ป.).
  17. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  18. เบญจพล : น. กําลัง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
  19. ปราชญา : [ปฺราดยา] น. ปัญญา. (ส. ปฺรชฺ?า; ป. ป?ฺ?า).
  20. ภูริ ๓, ภูรี : น. ความฉลาด, ปัญญา. (ป.).
  21. มันตา : น. ความรู้, ปัญญา. (ป.).
  22. โยนี : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของหญิง. (ป., ส. โยนิ ว่า มดลูก; ที่เกิด, ต้นกําเนิด; ปัญญา).
  23. แหลม : [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม. น. แผ่นดิน หรือภูเขาที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.
  24. อริยทรัพย์ : น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
  25. กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
  26. ขีดขั้น : น. ระดับแห่งความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ขีดขั้นแห่งสติปัญญา.
  27. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  28. คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
  29. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  30. โคตรภูญาณ : [โคดตฺระพูยาน] (แบบ) น. ปัญญาที่อยู่ในลําดับอริยมรรค.
  31. จนด้วยเกล้า : (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด.
  32. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  33. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  34. ฉลวยฉลาด : ว. ปัญญาดีงาม.
  35. ฉลาด ๑ : [ฉะหฺลาด] ว. เฉียบแหลม, ไหวพริบดี, ปัญญาดี. (ข. ฉฺลาต, ฉฺลาส).
  36. ฉลาดเฉลียว : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว, ฉฺลาสเฉฺลียว).
  37. ฉาน ๓ : ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  38. เฉลียวฉลาด : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, ฉลาดเฉลียว ก็ว่า. (ข. เฉฺลียวฉฺลาต, เฉฺลียว ฉฺลาส).
  39. โฉด : ว. โง่เขลาเบาปัญญา.
  40. เซน : น. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีนและ ญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทําสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).
  41. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  42. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  43. ตัน ๑ : ว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยายหมายความว่า ติด ขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตําแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง เช่น สมองตัน. ตันคอหอย (ปาก) ก. พูดไม่ออกด้วยความดีใจหรือเสียใจ. ตันปัญญา ก. จนปัญญา, คิดอะไรไม่ออก. ตันอกตันใจ ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.
  44. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  45. ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  46. ทันธ-, ทันธ์ : [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  47. ท้าทาย : ก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทําอันตรายแก่ ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลอง ความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.
  48. ทาสปัญญา : [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  49. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  50. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-121

(0.1276 sec)