Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เช่นว่า , then ชนวา, เช่นว่า .

Eng-Thai Lexitron Dict : เช่นว่า, 1 found, display 1-1

Thai-Eng Lexitron Dict : เช่นว่า, 2 found, display 1-2
  1. เช่นว่า : (CONJ) ; such as ; Related:for example, for instance ; Syn:อย่างเช่น, ตัวอย่างเช่น, เช่น ; Samp:ทุกคนควรช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านเช่นว่า ช่วยปัดกวาดเช็ดถูหรือล้างจาน
  2. ขนาน 1 : (CLAS) ; numerative noun for drugs and medicines ; Related:kind ; Syn:ชนิด ; Def:ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่นว่า ยาขนานหนึ่ง ยา 2 ขนาน ; Samp:ยารักษาโรคมะเร็งสองขนานที่ออกสู่ตลาดเป็นแบบฉีดและแบบรับประทาน

Royal Institute Thai-Thai Dict : เช่นว่า, 8 found, display 1-8
  1. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  2. กระทำ ๒ : ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
  3. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  4. ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  5. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  6. นิจ ๒ : ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจ ในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
  7. ปัจเจกสมาทาน : [ปัดเจกะสะมาทาน] น. การสมาทานศีลทีละ สิกขาบท เรียกว่า ปัจเจกสมาทาน, ถ้าสมาทานรวบท้าย เช่นว่า พุทฺธปญฺ?ตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ หรือ อฏฺ? สีลานิ สมาทิยามิ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน. (ป.).
  8. บริภัณฑ์ ๑ : [บอริพัน] น. วง, สิ่งแวดล้อม; เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขา พระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้นว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).

Budhism Thai-Thai Dict : เช่นว่า, 7 found, display 1-7
  1. กัป : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  2. กัปป์ : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  3. กุกกุจจะ : ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง
  4. ธรรมาธิษฐาน : มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับ บุคคลาธิษฐาน
  5. ปฏิโลม : ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา (ตรงข้ามกับอนุโลม ตามลำดับว่า เกสา โลมา......), สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น วิญญาณเป็นผล มีเพราะสังขาร เป็นเหตุ, สังขารเป็นผล มีเพราะอวิชชาเป็นเหตุ เป็นต้น
  6. อัตถัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล; ตามบาลีว่า รู้ความหมาย เช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างนี้ๆ หลักข้อนี้ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ๆ (ข้อ ๒ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  7. อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

ETipitaka Pali-Thai Dict : เช่นว่า, not found

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : เช่นว่า, not found

(0.1302 sec)