Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรื่องเล็ก, เรื่อง, เล็ก , then รอง, รองลก, เรื่อง, เรื่องเล็ก, ลก, เล็ก .

Budhism Thai-Thai Dict : เรื่องเล็ก, 183 found, display 1-50
  1. วัตถุ : เรื่อง, สิ่ง, ข้อความ, ที่ดิน; ที่ตั้งของเรื่อง หมายถึงบุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์ เช่น ในการให้อุปสมบท คนที่จะบวชเป็นวัตถุแห่งการให้อุปสมบท
  2. นิคม : 1.หมู่บ้านใหญ่, เมืองขนาดเล็ก, ย่านการค้า 2.คำลงท้ายของเรื่อง
  3. กถา : ถ้อยคำ, เรื่อง, คำกล่าว, คำอธิบาย
  4. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  5. มหาสุบิน : ความฝันอันยิ่งใหญ่, ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก
  6. กรณียะ : เรื่องที่ควรทำ, ข้อที่พึงทำ, กิจ
  7. ทานกถา : เรื่องทาน, พรรณนาทาน คือการให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไรเป็นต้น (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา)
  8. ทูเรนิทาน : เรื่องห่างไกล หมายถึงพุทธประวัติตั้งแต่เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติในอดีตมาโดยลำดับ จนถึงชาติสุดท้าย คือเวสสันดร และอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต
  9. นิยาย : เรื่องที่เล่ากันมา, นิทานที่เล่าเปรียบเทียบเพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต
  10. ปุริมกาล : เรื่องราวในพุทธประวัติที่มีขึ้นในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ
  11. เภทกรวัตถุ : เรื่องทำความแตกกัน, เรื่องที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกในสงฆ์, เหตุให้สงฆ์แตกกัน ท่านแสดงไว้ ๑๘ อย่าง ดู อัฏฐารสเภทกรวัตถุ
  12. รามายณะ : เรื่องราวของพระราม ว่าด้วยเรื่องศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ พระฤษีวาลมีกิเป็นผู้แต่ง ไทยเรียกรามเกียรติ์
  13. วัตถุ ๑๐ : เรื่องที่เป็นต้นเหตุ, ข้อซึ่งเป็นที่ตั้งหรือเป็นจุดเริ่มเรื่อง, ข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการของพวกภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี ที่ผิดเพี้ยนย่อหย่อนทางพระวินัย แปลจากสงฆ์พวกอื่นเป็นเหตุปรารภให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๑๐๐
  14. วินัยวัตถุ : เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย
  15. วินีตวัตถุ : เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)
  16. สังคหวัตถุ : เรื่องสงเคราะห์กัน, คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือกันยึดเหนี่ยวใจกันไว้ และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลกคือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลังแล่นไปให้คงเป็นรถและวิ่งแล่นไปได้ มี ๔ อย่าง คือ ๑.ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ๒.ปิยวาจา พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ ๓.อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ๔.สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น
  17. สังเวควัตถุ : เรื่องที่น่าสลดใจ, เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือเร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อยมาในทางกุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน เป็นต้น
  18. สันติเกนิทาน : เรื่องใกล้ชิด หมายถึงเรื่องราวหรือความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนเสด็จปรินิพพาน
  19. อธิกรณ์ : เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น
  20. อรรถคดี : เรื่องที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล, ข้อที่กล่าวหากัน
  21. อวิทูเรนิทาน : เรื่องไม่ไกลนัก หมายถึงเรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่จุติการสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงตรัสรู้
  22. อักโกสวัตถุ : เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒) ชื่อ ๓) โคตร คือตระกูลหรือแซ่ ๔) การงาน ๕) ศิลปะ ๖) โรค ๗) รูปพรรณสัณฐาน ๘) กิเลส ๙) อาบัติ ๑๐) คำสบประมาทอย่างอื่นๆ
  23. อัฏฐารสเภทกรวัตถุ : เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง, เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม, แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสว่าได้ตรัส, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติ ว่าได้ประพฤติ, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติ ว่าได้บัญญัติ, แสดงอาบัติว่ามิใช่อาบัติ, แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก, แสดงอาบัติมีส่วนเหลือวาเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ, แสดงอาบัติหยาบคายว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย (ฝ่ายคู่ก็ตรงกันข้ามจากนี้ตามลำดับ เช่น แสดงธรรมว่ามิใช่ธรรม, แสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ แสดงอาบัติไม่หยาบคาย ว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)
  24. อธิการ : 1) เรื่อง, ตอน เช่น ในอธิการนี้ หมายความว่า ในเรื่องนี้ ในตอนนี้ 2) อำนาจ, การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ, เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และเรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ
  25. อมฤต : เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง
  26. กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑.อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ๒.สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ๓.ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ ๔.อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ๕.วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร ๖.สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล ๗.สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น ๘.ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา ๙.วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ ๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ - 1. "Points of controversy"; name of the fifth book of the Abidhamma Pitaka. 2.a subject of discussion.
  27. กล่าวคำอื่น : ในประโยคว่า เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย
  28. กัณฑ์ : หมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง - 1.a chapter, portion or part (of a religious book) 2. a sermon.
  29. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  30. กัสสปสังยุตต์ : ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่
  31. กิจจาธิกรณ์ : การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ ; อรรถกถาพระวินัยว่าหมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
  32. เกษมจากโยคธรรม : ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก ดู โยคเกษมธรรม
  33. โกสัมพิกขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎกว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้น ถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง
  34. โกสิยวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องขนเจียมเจือด้วยไหมเป็นวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ในพระวินัยปิฎก
  35. ขัณฑสีมา : สีมาเล็กผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา มีสีมันตริกคั่น
  36. ขันธกะ : หมวด, พวก, ตอน หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับพระวินัย และสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ที่จัดประมวลเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่า ขันธกะ, ขันธกะ หนึ่งๆ ว่าด้วยเรื่องหนึ่งๆ เช่นอุโบสถ ขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยการทำอุโบสถ จีวรขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยจีวรเป็นต้น รวมทั้งสิ้นมี ๒๒ ขันธกะ (พระวินัยปิฎกเล่ม ๔-๕-๖-๗) ดู ไตรปิฎก
  37. ขุททกาปีติ : ปีติเล็กน้อย, ความอิ่มใจอย่างน้อย เมื่อเกิดขึ้นทำให้ขนชัน น้ำตาไหล (ข้อ ๑ ในปีติ ๕)
  38. เขมา : พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา
  39. คยากัสสป : นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลคยาสีสะเป็นน้องชายคนเล็กของอุรุเวลากัสสปะ ออกบวชตามที่ชาย พร้อมด้วยชฎิล ๒๐๐ ที่เป็นบริวาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตและเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  40. ครุธรรม : ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑.ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว ๒.ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓.ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน ๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) ๕.ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน ๖.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ๗.ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ ๘.ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
  41. คาถาพัน : คาถาหนึ่งพัน เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่งเป็นคาถาล้วนๆ ๑ พันบท; การเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วนๆ อย่างนี้เรียกว่า เทศน์คาถาพัน
  42. โคจรวิบัติ : วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่ เช่นภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น
  43. ฆราวาสนิสัย : วิสัยของฆราวาส, ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, เรื่องของชาวบ้าน
  44. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  45. จีวรขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องจีวร
  46. จีวรวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องจีวร เป็นวรรคที่ ๑ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์
  47. จุณณิยบท : คำร้อยแก้ว, บางแห่งว่าบทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ (พจนานุกรมเขียน จุณณิยบท)
  48. จุลวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ; คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ ๑.กัมมขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม ๒.ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน ๓.สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี ๔.สมถขันธกะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ ๕.ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่างๆ เป็นต้น ๖.เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี ๘.วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นตน ๙.ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่ ๑๐.ภิกขุนีขันธกะ ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก ๑๑.ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ ๑๒.สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗); ต่อจาก มหาวรรค
  49. จูฬสุทธันตปริวาส : สุทธันตปริวาสอย่างเล็ก หมายความว่า ปริวาสที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกัน จำจำนวนอาบัติและวันที่ปิดได้บ้าง อยู่ปริวาสไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
  50. เจ้าอธิการแห่งคลัง : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่างคือ ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชชกะ)
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-183

(0.0857 sec)