Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลย , then ลย, เลย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลย, 234 found, display 1-50
  1. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  2. เลยตามเลย : ว. ตามแต่จะเป็นไปเพราะพลาดและล่วงเลยไปแล้ว เช่น เอาเงินเกินไปแล้วก็เลยตามเลย ไม่ขอคืน.
  3. เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
  4. เกิน : ว. พ้น, เลย, คํานี้ใช้แก่ลักษณะที่มีมากกว่าหรือยิ่งกว่ากําหนด เช่น เกินขนาด เกินฐานะ เกินเวลา เกินสมควร.
  5. ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
  6. มิอย่าเลย : ว. ไม่เลิกเลย, ไม่เป็นอย่างอื่นเลย.
  7. ยังเลย : ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่าน หรือยัง ตอบว่า ยังเลย.
  8. ล่วงเลย : ก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อย วันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คําเดียว.
  9. หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
  10. กระยาเลย : ว. ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก).
  11. กินเศษกินเลย : (สำ) ก. กินกําไร, ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจํานวน เล็กน้อยไว้, ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน,เอาเพียงบางส่วนไว้ เป็นของตน.
  12. เกินเลย : ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมล้ำทางจํานวน.
  13. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  14. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  15. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  16. กรม ๔ : [กฺรม] (โบ) ย่อมาจากคําว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ยมิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
  17. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  18. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  19. กระแด้แร่ : ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทําดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย. (มณีพิชัย).
  20. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  21. กระบิดกระบวน : น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำ ชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
  22. กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
  23. กระเป๋าฉีก : (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
  24. กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
  25. กระเป๋าแฟบ : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
  26. กระเป๋าแห้ง : (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
  27. กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  28. กรุก : [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  29. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  30. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  31. กลอักษร : [กน-, กนละ-] น. ชื่อเพลงยาวกลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้ อ่านฉงน ตัวอย่างว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกําใจ จะจากไกลไม่เคย ให้อ่านว่า โอ้อกเอ๋ยแสนวิตกโอ้อกเอ๋ย กระไรเลยระกำใจกระไรเลย จะจากไกลไม่เคยจะจากไกล. (กลอักษรงูกลืนหาง). (จารึกวัดโพธิ์).
  32. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  33. กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
  34. กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  35. กะเล่อกะล่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลย ถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่า อย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  36. ก้ำเกิน : ว. ล่วงเกิน, เกินเลย.
  37. กำขี้ดีกว่ากำตด : (สํา) ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย.
  38. กินกำไร : ก. กินเศษกินเลย, เบียดแว้ง, เบียดบัง.
  39. กินลมกินแล้ง : (สํา) ก. ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย.
  40. เกินดี : ว. เลยไปจนหมดดี เช่น ทําเกินดี คือใช้ให้ไปทําอะไร แต่ทําจนเกินต้องการ เรียกว่า ทําเกินดี.
  41. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  42. แก้ต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนจําเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
  43. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  44. ขัง : ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า; (กฎ) กักขังจําเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล.
  45. ข้าม ๑ : ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
  46. ข้าม ๒, ข้าม ๆ : ว. เลยลําดับ, ไม่เป็นไปตามลําดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.
  47. ขึ้นเขียง : (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
  48. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  49. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  50. คำฟ้องแย้ง : (กฎ) น. คําฟ้องที่จําเลยฟ้องโจทก์มาในคําให้การในเรื่อง ที่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-234

(0.0631 sec)