Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลว , then ลว, เลว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลว, 79 found, display 1-50
  1. เลว : ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
  2. กริกกริว : [กฺริกกฺริว] ว. ขี้ริ้ว, เลว, เช่น โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้ากริกกริว. (ลอ).
  3. ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
  4. ถ่อย : ว. ชั่ว, เลว, ทราม.
  5. ท้องเลว : ว. โซ, อดอยาก, เช่น ชะรอยผีท้องเลวในเหวถํ้า. (ไกรทอง).
  6. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  7. นิรคุณ : [ระ] ว. ไม่มีลักษณะดี, ไม่มีคุณ, เลว, ชั่วร้าย; เนรคุณ, ไม่รู้คุณ. (ส.).
  8. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  9. หืน ๒ : (กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน๔หิน-).
  10. อสาธุ : ว. ไม่ดี, ไม่งาม, เลว, ชั่วช้า; น่าละอาย; แผลงใช้ว่า อสาธร ก็ได้. (ป., ส.).
  11. ทหารเลว : (โบ) น. พลทหาร.
  12. ทราม : [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบ เป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  13. นยักษ์ : [นะยัก] (แบบ) ว. ตํ่าต้อย, เลว. (ส.).
  14. ผี : น. สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะ ปรากฏเหมือนมีตัวตนได้อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน ผีห่า, เรียกคนที่ตายไปแล้ว; (โบ) เทวดา; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า เลว เช่น คนผี; เรียกบุคคลที่ หมกมุ่นในการพนันว่า ผีการพนันเข้าสิง.
  15. พรหมพันธุ์ : น. ''วงศ์พรหม'' คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์ เลว. (ส.).
  16. กระชิง : น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิงหุ้มผ้าแดง ได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิงหุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). (ดู กรรชิง).
  17. กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
  18. เลวระ : [กะเลวะระ] (แบบ) น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่ง กเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน. (ม. ร่ายยาว มัทรี), ใช้ว่า กเฬวราก ก็มี. (ป., ส.).
  19. กว่าเพื่อน : ว. คําใช้เปรียบเทียบ หมายถึง ที่สุดในหมู่ เช่น ดีกว่าเพื่อน เลวกว่าเพื่อน.
  20. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  21. กเฬวราก : [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง).
  22. กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
  23. กาบุรุษ : [กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
  24. กำมะลอ : น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือน รูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ; เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับใช้กับ เจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่อง กํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาว หรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ; เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อย ที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
  25. กุ๊ย : น. คนเลว, คนโซ. (จ. กุ๊ย ว่า ผี).
  26. เกินคน : ว. ยิ่งกว่าคนสามัญ เช่น ฉลาดเกินคน เลวเกินคน.
  27. แก่นแก้ว : ว. ยิ่งในทางที่เลว, เก่งในทางซุกซนหรือในทางไม่สู้ดี. (ถิ่น-พายัพ) น. เพชร.
  28. ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ : (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา.
  29. ขี้ถัง : (ปาก) ว. เลวทราม เช่น จงหลีกเลี่ยงเสียให้พ้นคนขี้ถัง. (สุภาษิตสุนทรภู่).
  30. คละปน : ก. ปนกันทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและเลว เป็นต้น.
  31. จังไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
  32. จัญไร : ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
  33. ฉลาง : [ฉะหฺลาง] น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลม มลายู, ชาวน้ำ หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง); ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลาย ฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน. (ขุนช้างขุนแผน).
  34. ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  35. ชั่วช้า : ว. เลวทราม.
  36. ด่า : ก. ใช้ถ้อยคําว่าคนอื่นด้วยคําหยาบช้าเลวทราม.
  37. ทรพล : ว. มีกําลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้; เลวทราม.
  38. ทาสทาน : [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้ โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
  39. ทุทรรศนนิยม, ทุนิยม : น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การ มองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
  40. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  41. บิสมัท : น. ธาตุลําดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓?ซ. เป็นตัวนําความ ร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลาย ที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).
  42. ประดาเสีย : ว. ล้วนแต่เสียทั้งนั้น, เสียมาก, เลวเต็มที.
  43. ประทุษ : [ปฺระทุด] ก. ทําร้าย, ทําชั่ว, ทําเลวทราม, ทําผิด, เบียดเบียน. (ส.).
  44. ปลอมปน : ก. เอาของเลวไปผสมกับของดีเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นของดี.
  45. ปอน, ปอน ๆ : ว. ซอมซ่อ, มีลักษณะประหนึ่งว่าอัตคัด ขัดสน เช่น แต่งตัวปอน; เรียกของเลว ๆ ว่า ของปอน ๆ.
  46. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  47. ผาติกรรม : น. การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยน เอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการ ทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทํา ให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัด ถวายใหม่เป็นการชดใช้.
  48. ผีทะเล : (ปาก) ว. เลวมาก เช่น คนผีทะเล.
  49. ใฝ่ต่ำ : ก. นิยมไปในทางเลว.
  50. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  51. [1-50] | 51-79

(0.0669 sec)