Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เว้นระยะ, เว้น, ระยะ , then รย, ระย, ระยะ, วน, เว้น, เว้นระยะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เว้นระยะ, 524 found, display 1-50
  1. ระยะ : น. ช่วง, ตอน, เช่น ระยะเวลา ระยะทาง ระยะนี้ฝนตกชุก.
  2. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  3. หยุดหย่อน : ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทํางานไม่ หยุดหย่อน คือ ทํางานไม่เว้นระยะ.
  4. ระยะ : ว. เป็นช่วง ๆ, เป็นตอน ๆ, เช่น เดินทางหยุดพักเป็นระยะ ๆ ปักเสาโทรเลขเป็นระยะ ๆ.
  5. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  6. เว้นวรรค : ก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.
  7. ว่างเว้น : ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
  8. เว้นช่องไฟ : ก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว.
  9. เว้นแต่ : สัน. นอกจาก, ยกเว้น, เช่น ฉันจะไป เว้นแต่ฝนตก.
  10. เบ็ดราว : น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราวโดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
  11. ผมนาง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Alectis ciliaris, A. indica และ Carangoides armatus ในวงศ์ Carangidae ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหาง เล็ก เกล็ดละเอียด เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดจะขยายใหญ่เป็นสันแข็ง มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สําคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ ๒ และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลําตัวสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็น บั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดํา จึงได้ ชื่อว่า ผมนาง เฉพาะชนิด A. indica มีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
  12. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  13. ลายไพรกลม : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ไซปากครุ เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๓ เส้นขัดตอกไขว้กันโดยมี ตอกซังเป็นเส้นยืน เว้นระยะห่างเท่า ๆ กันสานตอกข่ม ๒ เส้น ยก ๑ เส้น จะเกิดเป็นลายพันกันเป็นเกลียวไปตามเส้นตอกซังทุกเส้น.
  14. ลายไพรคีบ : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานซ่อน ซวง ตุ้น ลอบยืน ลอบนอน เป็นต้น โดยใช้ตอกกลม ๒ เส้นขัดตอก ไขว้กันโดยมีตอกซังเป็นเส้นยืนเว้นระยะห่างเท่า ๆ กัน.
  15. วงพาด : น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทําด้วยซุง เป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตี พาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ. (รูปภาพ วงพาด)
  16. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  17. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  18. อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  19. งดเว้น : ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.
  20. ตอน : น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้า สายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศ ไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดิน พอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้วตัดกิ่งออก จากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทําลายอวัยวะซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
  21. สัปดาห์, สัปดาหะ : [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่ม ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริม พระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
  22. ห้วง : น. ช่วง, ระยะ, ตอน.
  23. หัวไม่วางหางไม่เว้น : (สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้น เขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.
  24. ช่วง ๑ : น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
  25. นิรย : [ระยะ] (แบบ) น. นรก. (ป.).
  26. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  27. เศารยะ : [ระยะ] น. ความกล้าหาญ; อํานาจ. (ส.).
  28. ชั่ว ๑ : น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลําตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  29. ปีแสง : น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกําหนดว่า ระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็น ระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร.
  30. รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
  31. ลิ้นกระบือ ๑ : น. ไม้แผ่นบาง ๆ สําหรับสอดเพลาะกระดานเป็น ระยะ ๆ ให้สนิทแข็งแรง.
  32. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  33. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  34. อรุณ : น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  35. บทวาร : [บดทะวาน] (แบบ) น. ชั่วก้าวเท้า, ระยะก้าวเท้า, เช่น ทางเล็ก ควรบทวารผู้หนึ่งจะพึงไป. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  36. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  37. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  38. กระชอน ๒ : น. ชื่อแมลงชนิด Gryllotalpa orientalis ในวงศ์ Gryllotalpidae ลําตัวยาว ขนาดย่อมกว่านิ้วก้อยเล็กน้อย สีน้ำตาล ปีกสั้น บินได้ ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นแบน รูปร่างคล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็ง ใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ.
  39. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  40. กระทา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและ แมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
  41. กระทำ ๑ : ก. ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่ กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทํา เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.
  42. กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
  43. กราวรูด : [กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
  44. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  45. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  46. กล้ำ : [กฺล้ำ] ก. ควบ เช่น กล้ำอักษร อักษรกล้ำ, ทําให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กล้ำเสียง เสียงกล้ำ, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกล้ำพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกล้ำ แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกล้ำอําความตาย. (อิเหนา).
  47. กะ ๑ : น. เครื่องหมายบอกทํานองสวด เช่น กะมหาชาติคําหลวง, ทํานองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ ผลัดเปลี่ยนกันทํางาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กําหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.
  48. กะปูด : น. ชื่อนกในวงศ์ Centropodidae ขนปีกสีน้ำตาลแดง ลําตัวสีดํา ร้องเสียง ''ปูด ๆ'' เดินหรือวิ่งหากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ ในระยะทางสั้น ๆ มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ (Centropus sinensis) กะปูดเล็ก (C. bengalensis) และกะปูดนิ้วสั้น (C. rectunguis), ปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด.
  49. กัลปาวสาน : [กันละปาวะสาน] น. ที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์. (ส. กลฺป + อวสาน).
  50. ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-524

(0.1633 sec)