Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสีย , then สย, เสีย .

Budhism Thai-Thai Dict : เสีย, 118 found, display 1-50
  1. จัญไร : ชั่วร้าย, เลวทราม, เสีย
  2. ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ : ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม, หมดโอกาสที่จะบรรลุโลกุตตรธรรม
  3. กรรมวาจาวิบัติ : เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้
  4. ปริสวิบัติ : เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)
  5. สีลวิบัติ : เสียศีล, สำหรับภิกษุ คือต้องอาบัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส (ข้อ ๑ ในวิบัติ ๔)
  6. อาจารวิบัติ : เสียอาจาระ, เสียจรรยา, มรรยาทเสียหาย, ประพฤติย่อหย่อนรุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาษิต (ข้อ ๒ ใน วิบัติ ๔)
  7. อาชีววิบัติ : เสียอาชีวะ, ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ คือ ประกอบมิจฉาอาชีวะมีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น (ข้อ ๔ ในวิบัติ ๔)
  8. กปิสีสะ : ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนทเถระยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้ เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัตพระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว
  9. กล่าวคำอื่น : ในประโยคว่า เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย
  10. กัณฑกสามเณร : ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี
  11. กามาทีนพ : โทษแห่งกาม, ข้อเสียของกาม
  12. กุกกุจจะ : ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งาม ที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง
  13. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  14. เกินพิกัด : เกิดกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร
  15. ของต้องพิกัด : ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษี
  16. ของสังฆกรรม : มี ๔ คือ ๑.วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒.สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓.ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔.กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ
  17. ขึ้นวัตร : โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือเมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง ถ้าขึ้นปริวาสพึ่งกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส วตฺตํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าขึ้นวัตร
  18. ครุกาบัติ : อาบัติหนัก ได้แก่อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย และอาบัติสังฆาทิเสส อยู่กรรมจึงจะพ้นได้
  19. คืบพระสุคต : ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย
  20. โคจรวิบัติ : วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่ เช่นภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น
  21. ฆราวาสธรรม : หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑.สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน ๒.ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓.ขันติ ความอดทน ๔.จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ
  22. จตุตถฌาน : ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา
  23. จาคะ : การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ, การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ; การสละกิเลส (ข้อ ๔ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๓ ใน อธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๖ ในอริยทรัพย์ ๗)
  24. จีวรปลิโพธ : ความกังวลในจีวร คือ ภิกษุยังไม่ได้ทำจีวร หรือทำค้างหรือหายเสียในเวลาทำ แต่ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรอีก
  25. จุลกาล : ชื่อน้องชายของพระมหากาล ที่บวชตามพี่ชาย แต่ไม่ได้บรรลุมรรค ผล สึกเสียในระหว่าง
  26. เฉทนกปาจิตตีย์ : อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)
  27. เดาะ : (ในคำว่าการเดาะกฐิน) เสียหาย คือกฐินใช้ไม่ได้หมดประโยชน์ หมดอานิสงส์ ออกมาจารคำว่า อุพฺภาโร, อุทฺธาโร แปลว่ายกขึ้น หรือรื้อ เข้ากับศัพท์กฐินแปลว่ารื้อไม่สะดึง คือหมดโอกาสได้ประโยชน์จากกฐิน
  28. ตติยฌาน : ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา
  29. ตระบัด : ยืมของเขาไปแล้วเอาเสีย เช่น ขอยืมของไปใช้แล้วไม่ส่งคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย
  30. ตัณหา : ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย
  31. ติณวัตถารกวินัย : ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก
  32. ติรัจฉานกถา : ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน, เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)
  33. ติสสเถระ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย
  34. เตียง : ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)
  35. ทอด : ในประโยคว่า “ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย” ทิ้ง, ปล่อย, ละ
  36. ทีฆาวุ : พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสีชิงแคว้นจับได้ และประหารชีวิตเสีย ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหาร ภายหลังได้ครองราชสมบัติทั้ง ๒ แคว้น คือ แคว้นกาสีกับแคว้นโกศล
  37. ทุกรกิริยา : กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใครๆ จะทำได้ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่างๆ เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง; เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา
  38. ทุพภาสิต : “พูดไม่ดี” “คำชั่ว” “คำเสียหาย” ชื่ออาบัติเบาที่สุดที่เกี่ยวกับคำพูดเป็นความผิดในลำดับถัดรองจากทุกกฎ เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาล ว่าเป็นคนชาติจัณฑาล ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ ต้องอาบัติทุกกฎ แต่ถ้ามุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาษิต ดู อาบัติ
  39. ธนิต : พยัญชนะออกเสียแข็ง ได้แก่ พยัญชนะที่ ๒ ที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ
  40. นาสนา : ให้ฉิบหารเสีย คือ ลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ มี ๓ อย่าง คือ ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศ คือให้สึกเสีย ๑ ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ ๑ สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส ๑
  41. นิสสรณวิมุตติ : ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ นิพพาน, เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)
  42. นิสสารณา : การไล่ออก, การขับออกจากหมู่ เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์) ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้ ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
  43. เนรเทศ : ขับไล่ออกจากถิ่นเดิม, ให้ออกไปเสียจากประเทศ
  44. เนา : เอาผ้าทาบกันเข้า เอาเข็มเย็บเป็นช่วงยาวๆ พอกันผ้าเคลื่อนจากกัน ครั้นเย็บแล้วก็เลาะเนานั้นออกเสีย
  45. บริจาค : สละให้, เสียสละ บัดนี้มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญ
  46. ปฏาจารา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียติดปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
  47. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ : ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู วิปัสสนาญาณ
  48. ปฏิสารณียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทายกอุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย; ปฏิสาราณียธรรม ก็เขียน
  49. ประณาม : 1.การน้อมไหว้ 2.การขับไล่ 3.พูดว่ากดให้เสียหาย
  50. ปรัมปรโภชน์ : โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แหงหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.0341 sec)