Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แกล้ง , then กลง, แกล้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แกล้ง, 45 found, display 1-45
  1. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  2. แกล้งเกลา : ว. ประณีต, ประดิดประดอย.
  3. กลั่นแกล้ง : ก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ.
  4. กล้องแกล้ง : [กฺล้องแกฺล้ง] ว. มีรูปร่างเอวเล็กเอวบาง, อ้อนแอ้น; มีท่าทางเป็นเชิงเจ้าชู้.
  5. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  6. กลิ่ง : [กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว. (ม. คําหลวง ทศพร).
  7. กระแชะ : (กลอน) ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา. (คาวี).
  8. กระบิดกระบวน : น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำ ชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
  9. กางเกียง : ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, รวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กําเกียง ก็ว่า.
  10. ก้าวเฉียง : ก. เดินเป็นฟันปลา (ใช้แก่การแล่นเรือ); โดยปริยายใช้แก่การพูดไม่ตรงหรือพูดเลี่ยง เช่น นงลักษณ์แกล้งกล่าวก้าวเฉียง. (อิเหนา).
  11. เกราะ ๔ : [เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะ ให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).
  12. เกเร : ว. เกกมะเหรก, มีนิสัยเป็นพาล ชอบแกล้งชอบรังแกและเอาเปรียบเขา, มักใช้เข้าคู่กับคํา พาล เป็น พาลเกเร.
  13. เกลาะ : [เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคําเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  14. โกมล ๑ : ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  15. ข่มเหง : [-เหง] ก. ใช้กําลังรังแกแกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.
  16. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  17. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  18. คิง : (ถิ่น) น. ร่างกาย เช่น รทวยรแถ้ง คิงคมกล้องแกล้ง. (สุธนู).
  19. ฉะอ้อน : ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ชะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ชะอ้อน ก็ใช้.
  20. ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  21. ชะอ้อน : ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้.
  22. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  23. ตะบิดตะบอย : ว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้ารํ่าไร.
  24. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  25. บัพพาช : [บับพาด] (แบบ) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาช กูไกล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).
  26. บีบน้ำตา : ก. แกล้งร้องไห้, ร้องไห้.
  27. ประชด : ก. แกล้งทําให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.
  28. ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
  29. มวยล้ม : น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
  30. รังแก : ก. แกล้งทําความเดือดร้อนให้ผู้อื่น (มักใช้แก่ผู้มีอำนาจมากกว่า) เช่น ผู้ใหญ่รังแกเด็ก.
  31. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  32. ลอบกัด : ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.
  33. ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
  34. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  35. สรร : [สัน] ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร. (ข. สรัล). สรรแสร้ง ก. เลือกว่า, แกล้งเลือก.
  36. หมาลอบกัด : (สำ) น. คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง.
  37. อร ๒ : [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลม กล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  38. อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  39. อาสัญ : (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อส?ฺ? ว่า ไม่มีสัญญา).
  40. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  41. กลัง : [กฺลัง] (โบ) น. คลัง คือ ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือก สําหรับล่ามสัตว์. (สุธน).
  42. กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
  43. กลึง : [กฺลึง] ก. ทําให้กลมหรือให้เป็นรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องหมุน.
  44. กลึ้ง : [กฺลึ้ง] (โบ) น. กลิ้ง คือ ร่ม. (กฎมนเทียรบาล ในกฎหมายราชบุรี).
  45. โกลง : [โกฺลง] (โบ) ว. โคลง เช่น โกลงกลึงถึงสถานเปรียบแป้น. (ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก).
  46. [1-45]

(0.0600 sec)