Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แก่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แก่, 1342 found, display 1-50
  1. แก่ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  2. แก่ : บ. ใช้นําหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก.
  3. แก่ : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลาก เช่น แก่เกวียน.
  4. แก่กล้า : ก. เข้มแข็ง, ยวดยิ่ง, เช่น ศรัทธาแก่กล้า.
  5. แก่ตัว : ว. ย่างเข้าวัยแก่.
  6. แก่ไฟ : ว. ใช้ไฟแรงเกินไป (มักใช้แก่การหุงหรือ ต้มที่ใช้ไฟแรงจนเกือบไหม้).
  7. แก่แรด : ว. จัดจ้านเกินอายุ, แก่เกินอายุ, แก่มาก.
  8. แก่ดีกรี : (ปาก) ว. ดื่มสุราหรือเมรัยมาก.
  9. แก่บ้าน : (ถิ่น-พายัพ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน.
  10. แก่วัด : ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับ การอบรมจากวัดหรืออยู่วัดนาน; รู้มาก.
  11. เข้ม : ว. แรงกล้า เช่น รสเข้ม เหล้าเข้ม; แก่, จัด, (มักใช้แก่สีและรส) เช่น สีเข้ม.
  12. ชีรณ, ชีรณะ : [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
  13. เชียรณ์ : ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ. (แผลงมาจาก ชีรณ).
  14. ตะแก, ตะแก่ : น. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).
  15. ปล่อยแก่ : ก. ถือว่าแก่แล้วไม่เอาธุระในการแต่งตัว; ทําเป็นหนุ่ม.
  16. พฤฒ, พฤฒา : [พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).
  17. พฤทธ์ : [พฺรึด] น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, (ตรงข้ามกับ ยุว); ฉลาด, ชํานาญ; เจนจบ, พฤฒ ก็ใช้. (ส. วฺฤทฺธ).
  18. พุฒ : น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า. (ป. วุฑฺฒ).
  19. รู้อยู่แก่ใจ : ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกง แล้วยังคบกันอยู่ได้.
  20. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ : (สํา) น. คนที่ทําตนเป็นคนดีมาตลอด แต่มาเสียคนเมื่อแก่. ก. มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสําเร็จ.
  21. ลุแก่โทสะ, ลุโทสะ : ก. บันดาลโทสะ, โกรธมาก, เช่น เขาทำร้ายผู้อื่น ด้วยลุแก่โทสะ.
  22. สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
  23. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  24. เห็นแก่ : ก. มุ่งเฉพาะเพื่อ เช่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก เห็นแก่ได้.
  25. ไก่แก่แม่ปลาช่อน : (สํา) น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยา และเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน.
  26. คงแก่เรียน : ว. ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก.
  27. คนเก่าคนแก่ : น. ข้าเก่าเต่าเลี้ยง; คนที่มีพื้นเพอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน.
  28. โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน : (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว.
  29. เฒ่าแก่ : น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น ประธานในการสู่ขอและการหมั้น, เถ้าแก่ ก็ใช้.
  30. เถ้าแก่เนี้ย : น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.
  31. ท้องแก่ : ว. มีครรภ์จวนจะคลอด.
  32. พูดดีเป็นศรีแก่ปาก : (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ.
  33. มีแก่ใจ : ก. เอาใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, มีนํ้าใจ, มักกร่อนเป็น มีกะใจ.
  34. ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก : (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.
  35. ลุกะโทษ, ลุแก่โทษ : ก. สารภาพผิดยอมให้ลงโทษตามแต่จะเห็นสมควร.
  36. ลุแก่อำนาจ, ลุอำนาจ : ก. ตกอยู่ในอำนาจ, ใช้อำนาจ, เช่น ลุอำนาจโทสะ.
  37. หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด : น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็น ว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้ม เป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.
  38. เห็นแก่หน้า : ก. ลําเอียงในบุคคล, มุ่งเฉพาะคน.
  39. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  40. คราว ๒ : [คฺราว] ว. เรียกแมวตัวผู้ แก่ รูปร่างใหญ่ หน้าตาดุน่ากลัว และมีหนวดยาว ว่า แมวคราว.
  41. เดือยไก่ ๒ : น. ชื่อพริกพันธุ์หนึ่งของชนิด Capsicum annuum L. ผลคล้ายเดือยไก่ แก่ แล้วสีเหลือง, พริกเหลือง ก็เรียก.
  42. แด่ : บ. แก่ (ใช้ในที่เคารพ).
  43. ก๊ง : (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. น. หน่วยตวงเหล้าโรง เป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. (จ.).
  44. กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
  45. กงเต๊ก : น. การทําบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
  46. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  47. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  48. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  49. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  50. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1342

(0.0828 sec)