Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แจ้งเหตุ, แจ้ง, เหตุ , then จง, แจ้ง, แจ้งเหตุ, หต, เหตุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แจ้งเหตุ, 341 found, display 1-50
  1. แจ้ง : ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
  2. เหตุ : [เหด] น. สิ่งหรือเรื่องที่ทําให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่อง; เหตุผล. สัน. ด้วย, เพราะ. (ป., ส.).
  3. แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
  4. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  5. กรณี : [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
  6. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  7. จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
  8. แจบ : (ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
  9. ด้วย : ว. คําแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือ ในทํานองเดียวกันเช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คํานําหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็น เครื่องกระทํา เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่นทําด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
  10. ต้นเหตุ : น. คนหรือสัตว์เป็นต้นที่ทําให้เกิดเหตุเกิดเรื่อง.
  11. นิมิต ๒ : น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).
  12. บังเหตุ : (โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทําให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).
  13. เพราะ ๒ : สัน. ด้วย, เหตุ, เพื่อ.
  14. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  15. มูลเหตุ : [มูนละ-, มูน-] น. ต้นเหตุ.
  16. รู้แจ้ง : ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.
  17. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  18. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  19. วิ : คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
  20. สมเหตุสมผล : ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจง ของเขาสมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
  21. สมุฏฐาน : [สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิต เป็นสมุฏฐาน. (ป.).
  22. สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
  23. อัตเหตุ : [เหด] ว. เพราะตนเป็นเหตุ; เห็นแก่ตัว. (ป. อตฺตเหตุ).
  24. จง : เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือ บอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
  25. กฎหมายเหตุ : น. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ;โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
  26. กลางแจ้ง : น. นอกร่มไม้ชายคา.
  27. กินที่ลับไขที่แจ้ง : (สํา) ก. เปิดเผยเรื่องที่ทํากันในที่ลับ.
  28. คอยเหตุ : ก. ระวังเหตุการณ์.
  29. แจ่มแจ้ง : ว. กระจ่างชัด, แจ่มกระจ่าง.
  30. ต้นสายปลายเหตุ : น. ความเป็นมาของเรื่อง.
  31. นิติเหตุ : (กฎ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย เช่น การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติการณ์.
  32. ใบแดงแจ้งโทษ : (กฎ; เลิก) น. เอกสารที่กรมตํารวจออกเพื่อแสดง ว่าผู้นั้นเคยต้องโทษในคดีอาญามาแล้ว เดิมใช้กระดาษสีแดง.
  33. รุ่งแจ้ง : น. เวลาพระอาทิตย์ขึ้นสว่างแล้ว แต่ยังไม่มีแสงแดด.
  34. ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
  35. นิทาน : น. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป; เหตุ เช่น โรคนิทาน; เรื่องเดิม เช่นวัตถุนิทาน. (ป.).
  36. กังก้า : ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
  37. ภาส, ภาส– : [พาด, พาดสะ–, พาสะ–] น. แสง, สว่าง, แจ้ง. (ป., ส.).
  38. เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  39. อันตรายิกธรรม : [ยิกะทํา] น. ''ธรรมที่ทําอันตราย'' หมายถึง เหตุ ขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
  40. อุบัติ, อุบัติ : [อุบัด, อุบัดติ] น. การเกิดขึ้น, กําเนิด, การบังเกิด; รากเหง้า, เหตุ. ก. เกิด, เกิดขึ้น. (ป. อุปฺปตฺติ; ส. อุตฺปตฺติ).
  41. จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
  42. ก็ ๒ : นิ. ไขความ เช่น ถึงแก่กรรมก็ตายนั่นเอง ประสาทพิการก็บ้านั่นเอง, เน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้ง เช่น ทั้งฟืนเจ้าก็หัก ทั้งผักเจ้าก็หา.
  43. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  44. กรน : [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอ หอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
  45. กระจะ : ว. แจ่มแจ้ง, ชัดเจน.
  46. กระจัด ๒ : ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
  47. กระแต ๒ : น. ชื่อฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้ สำหรับถือตี เป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ เรียกว่า ฆ้องกระแต.
  48. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  49. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  50. กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-341

(0.1563 sec)