Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แช่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แช่, 40 found, display 1-40
  1. แช่ : ก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยาย ใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดย ไม่จําเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.
  2. แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
  3. แช่เบ้า : ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ ทําประโยชน์อะไร.
  4. แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
  5. ข้าวแช่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่อง กับข้าวต่าง ๆ.
  6. แป้งแช่ : (ถิ่น) น. ปลาทุงงะ. (ดู ทุงงะ).
  7. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  8. กลอย ๑ : [กฺลอย] น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด Dioscorea hispida Dennst. ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่น้ำไหลและนํามา นึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้.
  9. กะแช่ : น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา.
  10. ข้าวนึ่ง : น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบ ด้วยความร้อนแล้ว; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ข้าวเหนียวนึ่ง.
  11. ไข่เยี่ยวม้า : น. ไข่แช่นํ้าด่าง, ไข่สําเภา ก็เรียก.
  12. ไข่สำเภา : น. ไข่แช่นํ้าด่าง, สามัญเรียกว่า ไข่เยี่ยวม้า.
  13. จ้าง ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  14. ชำ ๒ : ก. เอากิ่งไม้ที่ตัดหรือตอนมาปักไว้ที่ที่ดินแฉะ ๆ หรือแช่นํ้า ไว้ชั่วคราว เพื่อให้รากงอก.
  15. ซักแห้ง : ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
  16. ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
  17. ดองยา : ก. แช่เครื่องยาไว้ในของเหลวมีเหล้าเป็นต้น.
  18. ด่าง ๑ : น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  19. ทุงงะ : (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัว ตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
  20. น่าย : ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรือ อ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่.
  21. พริกดอง : น. พริกหั่นหรือตําละเอียดแช่ในนํ้าส้มใช้เป็นเครื่องปรุง รสอาหาร, พริกนํ้าส้ม ก็เรียก.
  22. พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  23. พะเลย : น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
  24. ฟอกหนัง : ก. เอาหนังดิบมาแช่นํ้าแล้วหมักไว้เพื่อทําเป็น หนังฟอก.
  25. เมรย-, เมรัย : [เมระยะ-] น. นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, นํ้าเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.).
  26. โมง ๒ : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า ใช้นํ้าเปลือกแช่ปูนขาวทําให้ปูนแข็ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  27. ยัน ๒ : ก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.
  28. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  29. เย็นตาโฟ, เย็นเตาโฟ : น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
  30. รังนก ๑ : น. รังของนกอีแอ่นชนิดหนึ่ง เมื่อแช่นํ้ามีลักษณะคล้ายวุ้น กินได้.
  31. รากสามสิบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asparagaceae เถามีหนาม ใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบใช้ทํายาและ แช่อิ่มได้, พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน.
  32. เรือประมง : น. เรือกลไฟขนาดใหญ่ที่ใช้จับปลาในทะเลลึก มักมีเครื่อง อุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้จับปลา แช่ปลา และทำปลาด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อยู่ในทะเลได้หลาย ๆ สัปดาห์.
  33. ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
  34. ล้างฟิล์ม, ล้างรูป : ก. นำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปแช่ลงในสารละลายเคมี เพื่อให้รูปปรากฏขึ้นบนฟิล์ม.
  35. วุ้นเส้น : น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
  36. หมัก : ก. แช่ไว้, เก็บทิ้งไว้; ปล่อยให้พักฟื้นเพื่อให้หายบอบชํ้า (ใช้แก่ปลากัด) เช่น เอาปลากัดไปหมักไว้, ทอด ก็ว่า.
  37. หม่า : (ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็น ระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.
  38. หมูแฮม : น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.
  39. หล่อน้ำมัน : ก. เอาไส้ตะเกียงแช่ในตะเกียงหรือภาชนะที่ขังน้ำมันก๊าดหรือ น้ำมันมะพร้าวไว้เพื่อจุดให้ไส้ติดไฟอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น.
  40. อาจาด : น. ของกินแก้เลี่ยนปรุงด้วยแตงกวา หัวหอม เป็นต้น แช่นํ้าส้ม หรือนํ้ากระเทียมดอง.
  41. [1-40]

(0.0173 sec)