Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แดด , then ดด, แดด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แดด, 74 found, display 1-50
  1. แดด : น. แสงที่พุ่งจากดวงอาทิตย์ตรงมายังโลก, แสงตะวัน, แสงตะวันที่สว่าง และร้อน.
  2. พยับแดด : น. เงาแดด, แสงแดดกล้าที่ปรากฏในระยะไกลเป็นระยิบ ระยับลวงตา ทําให้เห็นเป็นนํ้าเป็นต้น.
  3. ลมแดด : ว. อาการที่เป็นลมเพราะโดนแดดจัด.
  4. สลบแดด : ก. อาการที่ใบไม้ดอกไม้เหี่ยวหรือเฉาเมื่อถูกแดดหรือ ความร้อน.
  5. ขี้แดด : น. ตะไคร่ที่จับบนผิวโคลนสีเขียว ๆ.
  6. นาฬิกาแดด : น. นาฬิกาชนิดหนึ่ง อาศัยเงาไม้หรือเงาแผ่นโลหะเป็นต้น ที่ปรากฏบนหน้าปัด.
  7. ไอแดด : น. ความร้อนจากแสงแดดที่เข้ามาถึงในที่ร่ม.
  8. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  9. กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
  10. กราด ๕ : [กฺราด] ก. กวดให้แน่น เช่น กราดลิ่ม, กวดให้อยู่ในบังคับ เช่น กราดควาย กราดเด็ก; พ่นน้ำนกและไก่แล้วเอาออกผึ่งแดด; ตากอยู่กลางแดดกลางลม. ว. ซัดส่ายไปโดยไม่เจาะจง เช่น ยิงกราด, สาดไป เช่น ด่ากราด.
  11. กรำ : [กฺรํา] ว. ตรํา, ฝ่า, ทนลําบาก, เช่น กรําแดด กรําฝน, เคี่ยวเข็ญเย็นค่ากรําไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  12. กะแอ ๑ : น. เครื่องบังแดดมีคันปักดิน หมุนได้ตามต้องการ.
  13. กัญญา ๒ : [กันยา] น. เครื่องบังแดดรูปหลังคา ใช้สําหรับแคร่หามหรือเรือยาว เพื่อเป็นเกียรติยศ, เรียกแคร่หามหรือเรือยาวที่มีกัญญาว่า แคร่กัญญา เรือกัญญา.
  14. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  15. เกิ้ง : (ถิ่น-พายัพ) ก. กั้น, บัง, มุง, เช่น เอาผ้าเกิ้งแดด เกิ้งหลังคา. น. ฉัตร.
  16. ข้าวฮาง : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วตากแดด ให้แห้งแล้วตําและนึ่ง.
  17. แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
  18. ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกแดดจัด อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. solar fever, sunstroke).
  19. จัด ๑ : ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
  20. จั่ว ๑ : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสําหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
  21. แจ๋ : ว. จัด (ใช้แก่สีแดงหรือแสงแดด) เช่น แดงแจ๋ แดดแจ๋.
  22. โจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
  23. ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  24. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  25. ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
  26. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  27. ตรำ : [ตฺรํา] ว. ปล่อยทิ้งตากแดดตากฝนไว้นาน ๆ เช่น ตัดไม้ทิ้งตรําแดดตรําฝนไว้, สู้ทนลําบาก เช่น ทํางานตรําแดดตรําฝน ตรํางาน, กรํา ก็ว่า.
  28. ตะกวด : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสี นํ้าตาลเหลืองปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบหากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดด ตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.
  29. ตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัวเวลา เช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.
  30. บ่มผิว : ก. ทําให้ผิวงามด้วยการอยู่ในที่ซึ่งไม่ถูกแดดถูกลมจนเกินไป.
  31. บัง ๑ : ก. กัน กั้น หรือปิดไม่ให้เห็น ไม่ให้ผ่าน ไม่ให้โดน เช่น บังแดด บังฝน บังลม ยืนบัง.
  32. บังตะวัน : น. เครื่องบังแดดเช่นเดียวกับบังสูรย์. (สิบสองเดือน).
  33. บังสูรย์ : น. เครื่องสูงอย่างหนึ่ง สําหรับใช้บังแดดในการพิธีแห่ รูปคล้าย บังแทรก. (รูปภาพ บังสูรย์)
  34. ปะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการ ปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า.
  35. เปรี้ยง : [เปฺรี้ยง] ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า; จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด) ในคําว่า แดดเปรี้ยง.
  36. ผิง : ก. ทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วยวิธีอังไฟ เรียกว่า ผิงไฟ, ทำให้ร่างกาย อบอุ่นด้วยแดด เรียกว่า ผิงแดด; ทำให้สุกด้วยไฟล่างไฟบน เช่น
  37. เผา : ก. ทําให้ร้อนให้สุกหรือให้ไหม้เป็นต้นด้วยไฟ เช่น เผาเหล็ก เผากล้วย เผาป่า, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้ร้อน เช่น แดดเผา, ทําให้เร่าร้อน เช่น กิเลสเผา, ทําให้หมดไป เช่นเผากิเลส.
  38. แพ้ว : ก. แขวนหรือปักสิ่งของเช่นรูปหุ่นหลอกไว้ เพื่อป้องกันนกกา รบกวน เรียกว่า แพ้วนก แพ้วกา; โดยปริยายหมายความว่า อยู่ ตรากตรํา ตากแดดตากฝน เป็นต้น เช่น ไปยืนแพ้วคอยดูขบวนแห่.
  39. ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
  40. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  41. มรีจิ : น. พยับแดด, แสงแดด. (ป., ส.).
  42. ยิบ ๆ : ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละออง เป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็น ประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  43. รถเก๋ง : น. รถยนต์ที่มีหลังคาเครื่องบังแดดบังฝน มีทั้งชนิดติดตายตัวและ เปิดปิดได้ ปรกตินั่งได้ไม่เกิน ๗ คน.
  44. ร่ม : น. บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้; สิ่งที่ใช้สำหรับกางกันแดด กันฝน มีด้ามสำหรับถือโดยปริยายหมายถึง ที่พึ่ง, ที่คุ้มครอง, เช่น ใต้ร่มพระบรม โพธิสมภาร ใต้ร่มกาสาวพัสตร์. ว. ซึ่งมีอะไรบังแดด เช่น ถนนสายนี้ร่ม ตลอดวัน.
  45. ระแนง : น. ไม้สี่เหลี่ยมขนาดยาว หน้า ๑'' x ๑'' ใช้ตีทับบนกลอนหรือจันทัน สําหรับมุงกระเบื้องหรือตีทับคร่าวเพื่อทํารั้ว หรือทําแผงพรางแดด สําหรับเรือนกล้วยไม้. ก. เรียง; ร่อน เช่น เอาแป้งมาระแนงให้เป็นผง. (ขุนช้างขุนแผน). (ข. แรง ว่า ร่อน).
  46. ลมตก : น. กระแสลมพัดอ่อน ๆ (มักพัดในเวลาเย็น) เช่น แดดร่ม ลมตก.
  47. ลมตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
  48. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  49. วัดแดด : ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่น พอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
  50. ส้มฉุน : น. ของกินชนิดหนึ่ง ใช้มะม่วงดิบมะยมดิบยำกับกุ้งแห้งใส่ น้ำปลาน้ำตาล บางทีก็นำไปตากแดด, ส้มลิ้ม ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-74

(0.0718 sec)