Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แบบ , then บบ, แบบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แบบ, 1421 found, display 1-50
  1. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  2. แบบฉบับ : น. หลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐาน, สิ่งที่ถือเป็นแบบได้.
  3. แบบแปลน : น. แผนผัง; (กฎ) แบบเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยมี รูปแสดงรายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาดเครื่องหมายวัสดุ และการ ใช้สอยต่าง ๆ ของอาคารอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการ ได้.
  4. แบบฝึกหัด : น. แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน ฝึกตอบเป็นต้น.
  5. แบบพิมพ์ : น. กระดาษพิมพ์ที่เป็นแบบสําหรับกรอกข้อความ หรือ ทําเครื่องหมายตามที่กําหนดหรือที่ต้องการ เช่น แบบพิมพ์คําร้อง.
  6. แบบพิธี : น. พิธีการตามกําหนด.
  7. แบบอย่าง : น. ตัวอย่างที่จะอ้างเป็นบรรทัดฐานได้.
  8. กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
  9. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  10. เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน : ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ.
  11. ถ่ายแบบ : ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอ มา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
  12. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  13. นางแบบ : น. ผู้หญิงที่แสดงแบบเสื้อหรือเครื่องประดับเป็นต้น.
  14. ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  15. แผน ๑ : น. สิ่งที่กําหนดถือเป็นแนวดําเนิน เช่น วางแผน, แบบ, ตำรา, เช่น แผนโบราณ แผนปัจจุบัน.
  16. พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
  17. ระเบียน : น. ทะเบียน, แบบ, เช่น ระเบียนประจำตัวนักเรียน.
  18. รูปแบบ : น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.
  19. ล้อแบบ : ก. ทำคล้ายแบบ, ทำได้ใกล้เคียงแบบ, เช่น อาคารทรงไทย ในปัจจุบันล้อแบบเรือนไทยโบราณ.
  20. ไล่แบบ : ก. ให้นักเรียนท่องบทเรียนตามที่สั่งให้ฟัง เช่น ครูไล่ แบบนักเรียน.
  21. วิธี : น. ทํานองหรือหนทางที่จะทํา เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอน คณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
  22. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  23. เครื่องแบบ : น. เครื่องแต่งกายที่กําหนดให้แต่งเหมือน ๆ กัน เฉพาะหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง.
  24. เย็บแบบ : ก. เย็บกลีบดอกไม้ติดบนใบตองเป็นรูปต่าง ๆ.
  25. กฏิ : (แบบ) น. สะเอว. (ป.).
  26. กระกอง : (แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).
  27. กเรณุกา : (แบบ) น. ช้างพัง. (ป.).
  28. กักการุ : (แบบ) น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  29. กังกะ : (แบบ) น. เหยี่ยว เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อน ก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  30. กังสะ : (แบบ) น. สัมฤทธิ์ เช่น ดั่งดามพะกังสกล่อมเกลา. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  31. กัญ : (แบบ) น. กันย์, ชื่อราศีหนึ่งใน ๑๒ ราศี เช่น อีกกัญเป็นชื่อราศี. (ไวพจน์ประพันธ์). (ป. กญฺ?า).
  32. กัญจุก, กัญจุการา : (แบบ) น. เสื้อ. (ป., ส.).
  33. กัฐ : (แบบ) น. ไม้ฟืน; ไม้วัด (คือใช้ในมาตราวัด). (ป., ส. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
  34. กัณณ์ : (แบบ) น. หู. (ป.; ส. กรฺณ).
  35. กัปบาสิก, กัปปาสิก : (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ดู กรรบาสิก).
  36. กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
  37. กัมพู : (แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กําพู กําภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
  38. กาก-, กากะ : (แบบ) น. กา (นก). (ป., ส.).
  39. กานต์ : (แบบ) ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึก ที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของ พระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. (ส.).
  40. กำโบล ๑ : (แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).
  41. กำลุง : (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
  42. กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
  43. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  44. กิงบุรุษ : (แบบ) น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  45. กิมิชาติ : (แบบ) น. หนอน, หมู่หนอน. (ป.).
  46. กุกรรม : (แบบ) น. การชั่ว, การไม่ดี. (ส.; ป. กุกมฺม).
  47. กุจี : (แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจํานง. (สุธน).
  48. กุฏไต : (แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสําหรับทหาร).
  49. กุดา : (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์. (ม. คําหลวง มัทรี).
  50. กุสุมภ์ : (แบบ) น. ดอกคํา. (ป.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1421

(0.0984 sec)