Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แล, 144 found, display 1-50
  1. แล : ก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดู เพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.
  2. แล : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  3. แล : สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบ ทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อม แก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).
  4. แลหน้าแลหลัง : ก. พิจารณาให้รอบคอบ เช่น จะทำอะไรต้องแล หน้าแลหลังให้ดีเสียก่อน.
  5. แลเหลียว : ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มี ใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
  6. ทักข์ ๒ : ก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลํานํ้าน้อย).
  7. เหลียวแล : ก. เอาใจใส่ดูแล เช่น พ่อแม่แก่แล้วต้องเหลียวแลท่านให้มาก เด็กคนนี้ไม่มีใครเหลียวแลเลย.
  8. กาแล : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่ จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.
  9. แคแกล, แคแล : [-แกฺล] น. ชื่อต้นไม้ใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
  10. พญาแปแล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง
  11. อกแล : ดู กุแล.
  12. อกแลกล้วย : ดู กุแล.
  13. แหล่ ๒ : [แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.
  14. กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
  15. กรรกศ : [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไป กรรกษ บารนี ฯ. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
  16. กรรมขัย : [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่า อายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
  17. กรรแสง ๑ : [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
  18. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  19. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  20. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  21. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  22. กระลาการ : (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไป โดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
  23. กระลู่น์ : ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
  24. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  25. กระหยะ : น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแล ผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
  26. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  27. กระอิด : (กลอน) ว. อิดโรย เช่น อกกระอิดกว่าชื่นแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  28. กระเอิบ : (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คําหลวง กุมาร).
  29. กเรณุ : [กะเรนุ] (แบบ) น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี- พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์).(ป.).
  30. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  31. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  32. กล่า : [กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คําหลวง ชูชก).
  33. กลิ่ง : [กฺลิ่ง] (โบ; กลอน) ก. เลือกสรร เช่น แลพี่แกล้งกลิ่งให้แล้ว. (ม. คําหลวง ทศพร).
  34. กวะกวัก : [กฺวะกฺวัก] ก. กวัก เช่น กวะกวักคือกวักทักถาม. (สรรพสิทธิ์). ว. กวัก ๆ, เป็นเสียงนกกวักร้อง, เช่น นกกวักลักแลเพื่อนพลาง กวักปีกกวักหาง ก็ร้องกวะกวักทักทาย. (สมุทรโฆษ).
  35. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  36. กษัตรีย์ : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  37. กะแล : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียกว่า แกแล.
  38. กักการุ : (แบบ) น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  39. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  40. การัณย์ : [การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
  41. กำพวด ๒ : น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
  42. กำราก, กำหราก : น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหรากเหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
  43. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  44. กุณิ, กุณี : น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  45. กุรระ, กุรุระ : [กุระระ, กุรุระ] (แบบ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. กุรร).
  46. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  47. แกแล : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
  48. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  49. แก้วตา : น. ส่วนสําคัญของตาที่ทําให้แลเห็น, ส่วนใสของดวงตา มีรูปกลมนูนทั้ง ๒ ข้าง ลักษณะใส แต่พื้นหลังนูนออกมากกว่าพื้นหน้า ตั้งอยู่ภายในดวงตา (ข้างหลังกระจกตา กั้นอยู่ระหว่าง posterior chamber กับ vitreous body ของดวงตา); โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่รักยิ่ง.
  50. ขดาน : [ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-144

(0.0327 sec)