Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใส่ .

Budhism Thai-Thai Dict : ใส่, 19 found, display 1-19
  1. กิงกรณีเยสุ ทักขตา : ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุ สามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)
  2. จุฬามณีเจดีย์ : พระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระพุทธเจ้าในดาวดึงสเทวโลก อรรถกถาเล่าว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกบรรพชาเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้วจะอธิษฐานเพศบรรพชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับเอาไปประดิษฐานในพระเจดีย์จุฬามณี ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้มานำเอาพระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ข้างขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทอง นำไปบรรจุในจุฬามณีเจดีย์ด้วย
  3. ตู่ : กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธเจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ
  4. ไตรปิฎก : “ปิฎก ๓”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ และอภิธรรมปิฎก
  5. ไถ้ : ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ
  6. ทอดธุระ : ไม่เอาใจใส่, ไม่สนใจ, ไม่เอาธุระ
  7. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  8. นาถกรณธรรม : ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.ศีล มีความประพฤติดี ๒.พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓.กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔.โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕.กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖.ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗.วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘.สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙.สติ มีสติ ๑๐.ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  9. บิณฑบาต : อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ; ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
  10. ปิฎก : ตามศัพท์แปลว่ากระจาด หรือ ตระกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่จัดเป้นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑.วินัยปิฎก รวบรวมพระวินัย ๒.สุตตันตปิฎก รวบรวมพระสูตร ๓.อภิธรรมปิฎก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓) ดู ไตรปิฎก
  11. ภาระ : “สิ่งที่ต้องนำพา”, ธุระหนัก, การงานที่หนัก, หน้าที่ที่ต้องรับเอา, เรื่องที่พึงรับผิดชอบ, เรื่องหนักที่จะต้องเอาใจใส่หรือจัดทำ
  12. เลศ : แสดงอาการให้รู้ในที; อาการที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อใส่ความ
  13. สำเหนียก : กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ในสังเกตพิจารณาจับเอกสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)
  14. แส่โทษ : หาความผิดใส่, หาเรื่องผิดให้
  15. อัพโพหาริก : กล่าวไม่ได้ว่ามี, มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่ได้โวหารว่ามี, มีเหมือนไม่มี เช่น สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส และเจตนาที่มีในเวลาหลับ เป็นต้น
  16. อาทร : ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่
  17. อารัญญกวัตร : ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ก) ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ข) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค) พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
  18. อุปัชฌายวัตร : ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน, หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์ โดยย่อคือ เอาใจใส่ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนบอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร
  19. โอปกฺกมิกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคนคือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น

(0.0129 sec)