Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใส่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใส่, 441 found, display 1-50
  1. ใส่กระหม่อม : น. คําขานรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  2. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  3. เข้าใส่ : ว. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่.
  4. ประจุ : ก. บรรจุ, ใส่; ใส่เข้าที่ให้แน่น เช่น ประจุดินปืน; เข้าประจําที่, เข้าประจําตําแหน่ง. น. เรียกยาที่ขับพิษถ่ายพิษว่า ยาประจุ.
  5. รำหัด : ก. โรย (ใช้สําหรับเอาพิมเสนแทรกยา); ใส่, แทรก. ว. อ่อน.
  6. ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
  7. สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
  8. หาเหาใส่หัว : (สำ) ก. รนหาเรื่องเดือดร้อนรำคาญมาใส่ตน.
  9. จับปูใส่กระด้ง : (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.
  10. พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้า :
  11. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  12. ว่าใส่หน้า : ก. ต่อว่าหรือติเตียนซึ่ง ๆ หน้า.
  13. เอาใจดูหูใส่ : (ปาก) ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.
  14. เอาใจใส่ : ก. ใฝ่ใจ, ตั้งใจ.
  15. สวม : ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง.
  16. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  17. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  18. ต้มข่า : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยํากะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่ ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.
  19. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  20. ร้าย : ใส่ร้าย ป้ายร้าย ให้ร้าย.
  21. กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
  22. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  23. กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  24. กมัณฑลุ : [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอก พระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะ ใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  25. กรณฑ์ ๑ : [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุ ในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
  26. กรด ๔ : [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือน คนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
  27. กรมวัง : [กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสํานัก; ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).
  28. กรวย ๑ : น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วย แป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนม กรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสําหรับ ถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์ และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียว ไปโดยลําดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
  29. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  30. กระจาด : น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียก เครื่องสานที่ทําเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สําหรับ ใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ.
  31. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  32. กระชุก ๒ : น. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สําหรับใส่ ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก.
  33. กระติก : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำติดตัวในเวลาเดินทาง เช่น กระติกของทหารหรือลูกเสือ, ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เพื่อเก็บความร้อนหรือรักษาความเย็นเป็นต้น, ถ้าใช้ใส่น้ำร้อน เรียกว่า กระติกน้ำร้อน, ถ้าใช้ใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กระติกน้ำแข็ง.
  34. กระถาง : น. ภาชนะปากกว้าง มีรูปต่าง ๆ สําหรับปลูกต้นไม้ หรือใส่น้ำและอื่น ๆ.
  35. กระทก : ก. กระตุก เช่น เงื่อนกระทก, กระตุกเร็ว ๆ เช่น กระทกข้าว คือ เอาข้าวใส่กระด้งร่อนพลางกระตุกพลาง เพื่อให้กากข้าว แยกจากข้าวสาร.
  36. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  37. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  38. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  39. กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
  40. กระเป๋า ๑ : น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อ หรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือ หลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
  41. กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
  42. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  43. กระพัง ๒ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่น้ำทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า ``กระพังน้ำ'' ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อน้ำมนตร์ของเรา.
  44. กระพา : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
  45. กระย่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอก ดอกไม้บูชาตามวัด.
  46. กระลอม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
  47. กระโลง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่งใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร.
  48. กระหยัง : (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
  49. กระออม ๒ : (กลอน) น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานน้ำทิพย์สิบกระออม. (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า.
  50. กลด ๒ : [กฺลด] (โบ) น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์. (ดู กลศ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-441

(0.0430 sec)