Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไพร่ , then พร, ไพร่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไพร่, 88 found, display 1-50
  1. ไพร่ : [ไพฺร่] (โบ) น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว. ว. สามัญ.
  2. ไพร่ส่วย : (โบ) น. พวกไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าประจําการ แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทนทุกปี.
  3. ไพร่ฟ้า : น. ข้าแผ่นดิน, ราษฎร.
  4. ไพร่หลวง : (โบ) น. พลที่เข้าประจําการแล้ว.
  5. พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
  6. บ่าวไพร่ : น. ข้าทาสบริวาร.
  7. กระฎุมพี : น. ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี. (ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี).
  8. สถุล : [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  9. ขี้ข้า : น. ทาส, ไพร่.
  10. กระทาสี : (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. (นิ. สุรสีห).
  11. กวน ๑ : (ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสาน สมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
  12. ข้า ๑ : น. บ่าวไพร่, คนรับใช้.
  13. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  14. บานแพนก : [-พะแนก] (กฎ; โบ) น. ตารางแบ่งปันไพร่หลวง. (ตราสามดวง).
  15. ไพร่สม : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหาร ฝึกหัดอยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
  16. เลว : ว. มีค่าตํ่ากว่ามาตรฐาน เช่น กระดาษเลวเขียนหมึกแล้วซึม; สามัญ เช่น ทหารเลว ไพร่เลว; ต่ำ, ทราม, เช่น มารยาทเลว. ก. รบ, รบศึก, มักใช้เข้าคู่กับคํา รบ เป็น รบเลว.
  17. สักหมาย : (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).
  18. พรวงเพรียง : [พฺรวงเพฺรียง] ก. พูดยกยอ.
  19. พรหมาณฑ์ : [พฺรมมาน] น. จักรวาล, โลก. (ส.).
  20. พรหมาณฑ์ : ดู พรหม, พรหม.
  21. พรหมาสตร์ : ดู พรหม, พรหม.
  22. พรหมาสตร์ : [พฺรมมาด] น. ชื่อศรเล่มหนึ่งของพระราม. (ส.).
  23. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  24. เกาทุมพร : [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
  25. เศวตัมพร, เศวตามพร : [สะเหฺวตําพอน, ตามพอน] น. ชื่อนิกาย ในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่ม ผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. [ส. เศฺวต (ขาว) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม)].
  26. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  27. กระลำพร : (โบ) น. กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. (ดู กลัมพร).
  28. แพร่ : ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
  29. เศวตัมพร, เศวตามพร : ดู เศวต, เศวต.
  30. ทศพร : น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
  31. กระยาหงัน : น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
  32. กระลัมพร : น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
  33. กระลำ : (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).
  34. กรึง : [กฺรึง] (โบ) ก. ตรึง, ปักแน่น, ทําให้อยู่กับที่, เช่น ต้องศรพรหมาสตร์ฤทธิรณ กรึงแน่นทรวงบน ตลอดจนยอดปฤษฎางค์. (พากย์).
  35. กลัมพร : [กะลําพอน] (แบบ) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทํากลัมพรภัย. (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย. (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กระลําพร หรือ กระลํา ก็มี.
  36. กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  37. กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
  38. กาโมทย : [-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
  39. กุมภนิยา : น. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.
  40. โกฐาส : [โกดถาด] (แบบ) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็น โกฐาสถ้อย. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺ?าส).
  41. ไกพัล : [ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  42. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  43. คคนัมพร : [คะคะนําพอน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อมฺพร).
  44. คัคนัมพร : [คักคะนําพอน] (แบบ) น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อมฺพร = ฟ้าฟ้า).
  45. เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
  46. ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  47. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  48. เชน : น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษา ปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและ มังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).
  49. ไชโย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพรเป็นต้น.
  50. ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
  51. [1-50] | 51-88

(0.0726 sec)