Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ใจความสำคัญ, ใจความ, สำคัญ , then จความสำคญ, ใจความ, ใจความสำคัญ, สำคัญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ใจความสำคัญ, 112 found, display 51-100
  1. เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  3. พิพากษา : (กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าว ว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).
  4. พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน : [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้าน วัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
  5. ไพ่ตาย : น. ไพ่ในมือที่รอเข้าตองเข้าเศียรอยู่แต่ไม่มีใครทิ้งให้หรือ เขาทิ้งให้คนอื่นซึ่งตนไม่มีสิทธิ์เก็บมาใช้ได้ เช่น ไพ่ตายคามือ, โดยปริยายหมายถึงเรื่องสำคัญที่สามารถให้คุณให้โทษได้ซึ่งอีกฝ่าย หนึ่งกำเป็นความลับไว้ เช่น เขากำไพ่ตายของคนนั้นไว้ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด.
  6. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  7. มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  8. มือปืน : น. ผู้ที่พกพาอาวุธปืนคอยคุ้มกันผู้มีอิทธิพลหรือ บุคคลสำคัญเป็นต้น, ผู้ที่รับจ้างยิงคน, ผู้ที่ยิงเขาตาย.
  9. มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
  10. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  11. เมืองท่า : น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทําเลหรือถิ่นที่ จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
  12. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  13. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  14. ยศช้างขุนนางพระ : (สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้ คุณให้โทษแก่ใครได้.
  15. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  16. ย่อยข่าว : ก. หยิบยกเฉพาะประเด็นสำคัญของข่าวมากล่าว.
  17. ยึดหัวหาด : ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อ สะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคล สำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
  18. ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  19. ยุทธศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยาม สงบและยามสงคราม. ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
  20. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  21. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  22. รากกล้วย : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่ง ใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดีไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัว มีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธารบนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.
  23. รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
  24. เรือพระที่นั่งชัย : น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวน พยุหยาตราทางชลมารคเสด็จไปในการพระราชสงคราม หรือการ พระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
  25. เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
  26. ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
  27. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  28. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  29. ลิงนั่งแป้น : (สำ) น. ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจ อะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง.
  30. ลุ่มน้ำ : น. บริเวณที่ลุ่มซึ่งมีแม่น้ำสำคัญและสาขาไหลผ่าน เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา.
  31. ลูกผีลูกคน : (สํา) ว. หวังเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้, มักใช้ในกรณีสำคัญ ๆ เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะรอดหรือไม่ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่ การสอบไล่ ครั้งนี้ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่.
  32. ลูกหลงแม่ : น. คำล้อเด็กที่หาแม่ไม่พบหรือสำคัญผิดคิดว่าหญิงอื่น เป็นแม่.
  33. เล่นพรรคเล่นพวก, เล่นพวก, เล่นพวกเล่นพ้อง : ก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่ หรือสำคัญ.
  34. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  35. วรรณพฤติ : หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
  36. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  37. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  38. ไว้ทุกข์ : ก. แต่งกายหรือแสดงเครื่องหมายตามประเพณีนิยม ว่าตนมีทุกข์เพราะบุคคลสำคัญในครอบครัวเป็นต้นตายไป เช่น ไว้ทุกข์ให้พ่อ.
  39. ไว้เนื้อเชื่อใจ : ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขา เถอะเขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อ เชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.
  40. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  41. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  42. ส่งความสุข : ก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญ ในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.
  43. ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
  44. สวนญี่ปุ่น : น. สวนที่จัดตามแบบญี่ปุ่น มีสิ่งประดับที่สำคัญคือ ไม้ดอก ไม้ใบ สะพาน โคม เป็นต้น.
  45. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  46. หน้าโฉนด : [-ฉะโหฺนด] (ปาก) น. หนังสือสำคัญของทางราชการ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
  47. หน้าป๋อหลอ : ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
  48. หลงผิด : ก. สำคัญผิด, เข้าใจไม่ถูกต้อง; หลงประพฤติไปในทางที่ผิด.
  49. หลงละเมอ : ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลง ละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
  50. หลักการ : น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-112

(0.0785 sec)