Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้อยกว่า, น้อย, กว่า , then กว่, กวา, กว่า, นอย, น้อย, นอยกวา, น้อยกว่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้อยกว่า, 1431 found, display 1101-1150
  1. สอยดอกฟ้า : (สํา) ก. หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็น คู่ครอง.
  2. สะดวก : ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่า สมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  3. สะดุดตา : ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตา จริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิก ลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.
  4. สะเดาดิน : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrolea zeylanica (L.) Vahl ในวงศ์ Hydrophyllaceae ขึ้นในนา ใบยาวคล้ายหญ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia alsinoides Lam. ในวงศ์ Campanulaceae ต้นเล็กกว่าชนิดแรก ใบค่อนข้างป้อม. (๓) ดู ขวง.
  5. สัก ๔ : ว. อย่างน้อย, เพียง, ราว, เช่น ขอเวลาสัก ๒ วัน. สักแต่ว่า, สักว่า ว. เพียงแต่ว่า...เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมี ขี้ผงอยู่เลย สักว่าทำพอให้พ้นตัว.
  6. สังกะวาด : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล Pangasius วงศ์ Schilbeidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น สังกะวาดท้องโต (P. micronemus) สังกะวาดเหลือง (P. siamensis).
  7. สังขยา ๒ : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  8. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  9. สัดจอง : น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, จัดจอง ก็ว่า. (ข.).
  10. สันโดษ. : (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).
  11. สับเกลียว, สับเชือก : ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้ว เอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้น ที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
  12. สัปทน : [สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่อง แสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้า หรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือ พระพุทธรูป เป็นต้น.
  13. สาง ๔ : น. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลง ๆ ตามลําดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง. ก. ทําให้ แจ้งให้กระจ่าง เช่น สางคดี, ทําให้หายยุ่ง เช่น สางผม.
  14. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  15. หดหาย : ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่ง หดหายไป.
  16. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  17. หนอก ๑ : [หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา ที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อย เช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.
  18. หนัก : ว. มีน้ำหนักมาก, ตรงข้ามกับ เบา; แรง เช่น ฝนตกหนัก, รุนแรง เช่น รบหนัก ไข้หนัก, มาก เช่น บุญหนักศักดิ์ใหญ่; ที่ให้ผลช้ากว่าปรกติ เช่น ทุเรียนหนัก ข้าวหนัก.
  19. หนังกลับ : น. หนังที่ผิวไม่เรียบ มีลักษณะฟูน้อย ๆ คล้ายเนื้อผ้ากำมะหยี่ เช่น เข็มขัดหนังกลับ รองเท้าหนังกลับ, โดยปริยายเรียกสุนัขขี้เรื้อนว่า สุนัขหนังกลับ.
  20. หนังสด : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์ บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.
  21. หนังใหญ่ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอ และหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็น คนละคนกัน.
  22. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  23. หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
  24. หน้างอก : น. หน้าผากกว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติ.
  25. หนาตา : ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชม มหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
  26. หน้ายิ้ม ๆ : ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย.
  27. หนาวดอกงิ้ว : น. ระยะเวลาที่ต้นงิ้วออกดอก ประมาณเดือนยี่ อากาศเย็น กว่าธรรมดา เช่น น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้วงิ้วออก ดอกไสว. (นิ. ประธม).
  28. หน้าใหญ่ใจโต : ว. มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขา ชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.
  29. หนุบ, หนุบ ๆ : ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.
  30. หนู ๒ : (ปาก) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย.
  31. หมอช้างเหยียบ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pristolepis fasciatus ในวงศ์ Nandidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมี ลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบ กระตรับ ตะกรับหน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก.
  32. หมัด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตรไม่มีปีก ลําตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลําตัวบริเวณปล้อง แต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้เก่งปากเป็นชนิดเจาะ ดูด ดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร เช่น หมัดคน (Pulexirritans) หมัดหมา (Ctenocephalides canis) หมัดหนู (Xenopsyllacheopsis) ในวงศ์ Pulicidae.
  33. หมากป่น : น. เศษเนื้อหมากที่เหลือจากการทำหมากซอย หมากหน้าแว่น เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกันเข้า ตากแดดให้แห้ง.
  34. หมากหน้าแก่, หมากหน้าฝาด : น. ผลหมากอย่างดี เมื่อผ่าสดจะเห็น ว่ามีเนื้อมาก สีออกส้มหรือน้ำตาลแดง มีวุ้นน้อย หน้าหมากมียางเยิ้ม เป็นมัน มีลายเส้นในเนื้อมาก รสฝาด.
  35. หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
  36. หมากัดอย่ากัดตอบ : (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับ คนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
  37. หมามุ่ย, หมามุ้ย : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคัน มาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC. ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.
  38. หมาร่า : น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.
  39. หมี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปาก ยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาท การดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขน สีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็ก กว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
  40. หมู ๕ : น. เรียกเรือขุดชนิดเล็ก ลักษณะคล้ายเรือพายม้า แต่หัวจะเรียวเล็กกว่า เรือพายม้ามาก ว่า เรือหมู.
  41. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  42. หยอด : ก. ใส่ลงหรือเทลงคราวละน้อย ๆ; แถมคําชมหรือคําพูดคมคาย.
  43. หย็อมแหย็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.
  44. หยักศก : ว. ที่หยิกน้อย ๆ (ใช้แก่ผม).
  45. หยิบมือเดียว : (สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไป รบกับใครเขาได้.
  46. หร็อมแหร็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ต้นไม้ขึ้นหร็อมแหร็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หย็อมแหย็ม ก็ว่า.
  47. หรี่ : [หฺรี่] ก. ลดให้น้อยลงหรือเบาลง เช่น หรี่ไฟ หรี่วิทยุ. ว. แคบ ในคำว่า ตาหรี่.
  48. หรู, หรูหรา : ว. สวยงามด้วยการรู้จักประดับตกแต่งเกินกว่าปรกติธรรมดา เช่น แต่งตัว สวยหรู จัดห้องเสียหรูหรา.
  49. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  50. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1431

(0.1258 sec)