หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
หัวต่อ : น. ที่ซึ่ง ๒ ส่วนมาติดกัน, ระยะตรงที่เวลา ข้อความ หรือเหตุการณ์ ติดเนื่องกัน.
หัวตะกั่ว ๑ : น. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์ Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลําตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาด เล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลําตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดํา ที่สําคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัว ระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.
หัวนม : น. อวัยวะส่วนที่อยู่ตอนยอดของนมมนุษย์หรือสัตว์; ของที่ทําด้วย ยางเป็นต้น มีรูปคล้ายหัวนม สําหรับสวมขวดบรรจุนํ้านมหรือนํ้าเป็นต้น เพื่อให้เด็กดูด; นํ้านมที่มีครีมมากจนข้น.
หัวพุงหัวมัน : น. ส่วนที่มีพุงและมันซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีในตัวปลา, โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ดีที่สุดเยี่ยมที่สุดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
หัวหน่าว : น. ส่วนของร่างกายอยู่ระหว่างท้องน้อยกับอวัยวะสืบพันธุ์.
หัวหมู : น. ส่วนของไถตอนที่ปลายสอดติดผาล.
หัวอก : น. ส่วนเบื้องบนของอกในระดับหัวใจ; (ปาก) สภาพที่น่าเห็นใจ เช่น หัวอกแม่ค้า หัวอกคนจน.
หัส, หัส- : [หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).
หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
หางกระเบน : น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, ชายกระเบน ก็เรียก.
หางไก่ : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Coilia macrognathus และ C. dussumieri ในวงศ์ Engraulidae ลําตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูป สามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเล็กหลุดง่าย ลําตัวจึงแลดู ใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด ขนาดยาวประมาณ๒๕ เซนติเมตร.
หางนม : น. น้ำนมที่เอาครีมส่วนใหญ่ออกแล้ว.
หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
หางหนู : น. หางเปียขนาดเล็กและสั้นที่บริเวณท้ายทอยโดยโกนผมที่เหลือ ออกทั้งหมด; เรียกตะไบเล็ก ๆ ที่มีลักษณะกลมเรียวว่า ตะไบหางหนู; ส่วนของแขนงช่อดอกของหมากและมะพร้าวที่ดอกเพศผู้ร่วงหมดแล้ว.
หางไหล ๑ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยหรือชอน ไปแตกเป็นหน่อขึ้น, ไหล ก็เรียก.
หาด : น. เนินที่ลาดลงไปในนํ้าหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางนํ้า ส่วนมาก เป็นเนินทราย, ที่เป็นเนินกรวดหรือเนินหิน เรียกว่า หาดกรวด หาดหิน ก็มี.
หามรอก : น. ชื่อต้นไม้ชนิด Miliusa velutina Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ใบป้อม ขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นพวง ทุกส่วนใช้ทำยา.
หายหกตกหล่น : (สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่ กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
หาร ๑ : [หาน] ก. แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน (ใช้แก่วิธีเลข). น. เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ว่า เครื่องหมายหาร. หารร่วมมาก ดู ตัวหารร่วมมาก.
หาร ๒ : [หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนําไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).
หาริน, หารี : ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).
หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
หิ่งหาย : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Crotalaria วงศ์ Leguminosae ส่วนใหญ่ ดอกสีเหลือง มีบางชนิดดอกสีม่วง ฝักกลมพอง, กิ่งหาย หรือ ติ่งหาย ก็เรียก.
หินสบู่ : น. หินแปรชนิดหนึ่ง ซึ่งเนื้อสารประกอบด้วยแร่ทัลก์เป็นส่วนใหญ่ มีเนื้ออ่อน เอาเล็บขูดเป็นรอยได้ง่าย และลื่นมือคล้ายสบู่.
หินโสโครก : น. แนวพืดหินหรือโขดหินใต้น้ำใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมี บางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ.
หีบ ๒ : ก. บีบเค้นให้ส่วนที่ต้องการออกมา เช่น หีบอ้อย หีบฝ้าย.
หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
หุ่นกระบอก : น. หุ่นชนิดหนึ่ง มีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วย ไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอก นั้นเชิด.
หุ้นบุริมสิทธิ : [-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษ เหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ. (อ. preference share).
หุ่นใหญ่ : น. หุ่นชนิดทำจำลองย่อส่วนตัวละครขนาดสูงประมาณ ๒ ศอก ตัวหนึ่งใช้คนเชิด ๓ คน ใช้แสดงละครเล็ก.
หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
หูลี่ : ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัว เป็นต้น.
หูไห : น. ชื่อพระเครื่องแบบหนึ่งด้านหลังมีหูสําหรับร้อยเชือกผูกคอช้างศึก ม้าศึก.
เห็ด : น. ส่วนของเชื้อราที่ออกเป็นดอก แบ่งเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งไม่มีพิษ กินได้ เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง อีกชนิดหนึ่งมีพิษ บางชนิดกินแล้วถึงตาย เช่น เห็ดระโงกหิน.
เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
เหม, เหม- :
[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
เหวทะเล : น. ส่วนที่ลึกมากของผืนท้องทะเลและมหาสมุทร มีขอบสูง ชันและมีบริเวณจํากัด โดยทั่วไปกําหนดความลึกตั้งแต่ ๕,๔๐๐ เมตร ลงไป.
เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
เหาน้ำ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในอันดับ Isopoda เป็นปรสิต ที่พบในนํ้าจืด เช่น สกุล Alitropus ในวงศ์ Aegidae, ในนํ้าเค็ม เช่น สกุล Livoneca ในวงศ์ Cymothoidae.