ตกเบ็ด : ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลง โดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก : (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
ตรีเนตร : น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
ตลบตะแลง : ว. พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน.
ตะโก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Diospyros วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดํา คลํ้า เช่น ตะโกสวน (D. malabarica Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา (D. rhodocalyx Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
ทำเสน่ห์ : ก. ทําให้เพศตรงข้ามหลงรักด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์.
ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
เทวารัณย์ : น. สวนสวรรค์. (ส.).
ธเนศ, ธเนศวร : [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
ธเรษตรีศวร : [ทะเรดตฺรีสวน] (แบบ; กลอน) น. ผู้เป็นใหญ่ในโลก เช่น สายัณห์หวั่นสวาทไท้ธเรศตรี ศวรแฮ. (ตะเลงพ่าย).
นกต่อ : (สํา) น. คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลง เชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี).
นรินทร์, นริศ, นริศร, นริศวร : [นะริน, นะริด, นะริดสวน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร, นร + อีศ, นร + อีศฺร, นร + อีศฺวร).
นเรนทรสูร, นเรศ, นเรศวร, นเรศูร : [นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
นอก : บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
นันทวัน : [นันทะ] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. นนฺทวน).
น้ำมันพราย : น. นํ้ามันที่ได้จากการลนปลายคางศพหญิงที่ตายทั้งกลม เชื่อว่าดีดใส่ผู้หญิง ทําให้ผู้หญิงหลงรัก.
เนียม ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino ในวงศ์ Chloranthaceae ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, พายัพเรียก เนียมอ้ม. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Strobilanthes nivea Craib ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ใบมีกลิ่นหอมใช้ประสมปูนกินกับหมาก, เนียมสวน ก็เรียก, อีสานเรียก อ้ม.
บวช ๒ : (ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทําอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้า บวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
บังหน้า : ก. นําชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนา ให้ผู้อื่นหลงผิด; ทํากิจการอย่างหนึ่งเพื่ออําพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.
ปฏิบถ : ว. ทวนทาง, สวนทาง. (ป. ปฏิปถ).
ปรอด : [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) ปรอดหน้านวล (P. goiavier), กรอด ก็เรียก, บางทีเขียน เป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
ประโดง : น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน เรียกว่า ลำประโดง, ลำกระโดง ก็ว่า.
ปลอม : [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
ปอกลอก : ว. ทําให้เขาหลงเชื่อแล้วล่อลวงเอาทรัพย์เขาไป.
ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
ปาริฉัตร, ปาริชาต : น. ต้นไม้สวรรค์ในสวนพระอินทร์, ต้นทองหลาง. (ป. ปาริจฺฉตฺต, ปาริชาต; ส. ปาริชาต).
ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
ผอก ๒ : ว. น่าเกลียด เช่น แลจะให้แก่พราหมณ์เถ้าผอกหงอกหลง. (ม. คําหลวง มหาราช).
ผัดเจ้าล่อ : ก. ผัดให้หลงเชื่อรํ่าไปอย่างขอไปที.
ผีโขมด :
น. ผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืนทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟ อยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป. (ดู โขมด๑).
ผีบุญ : น. ผู้อวดคุณวิเศษว่ามีฤทธิ์ทําได้ต่าง ๆ อย่างผีสางเทวดา ให้คนหลงเชื่อ.
แฝด ๒ : น. เรียกยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียวว่า ยาแฝด.
พรหเมนทร์, พรหเมศวร : [พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหม ผู้เป็นใหญ่. (ส.).
พลัด : [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
พาซื่อ : ก. เข้าใจตรง ๆ ตามที่เขาพูด, พลอยหลงเชื่อหรือหลงผิด ตามไปด้วย.
พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
มหาละลวย : น. ชื่อมนตร์สําหรับเป่าให้คนหลงรัก.
มหิศร, มหิศวร : [มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
มเหศ, มเหศวร : [มะเหด, มะเหสวน] น. พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
มอมเมา : ก. ทําให้หลงผิด, ทําให้หมกมุ่นในทางที่ผิด.
มัวเมา : ว. หลงละเลิง, เมามัว ก็ว่า.
มายาวี : น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทําให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).
มารยาสาไถย : น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.