Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเร็ว, อย่าง, เร็ว , then รว, เร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรว, อย่างเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเร็ว, 2597 found, display 751-800
  1. จันอับ : น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.
  2. จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  3. จับดำถลำแดง : (สํา) ก. มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง, มุ่งอย่างหนึ่ง กลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  4. จับแพะชนแกะ : ก. ทําอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทน เพื่อให้ลุล่วงไป.
  5. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  6. จับหัวเข่าพูด, จับเข่าคุยกัน : (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  7. จาระไน : ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.
  8. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  9. จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  10. จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
  11. จำกัดจำเขี่ย : ก. จํากัดจนที่สุด, ใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด, กระเบียดกระเสียร.
  12. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  13. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  14. จำเป็น : ว. ต้องเป็นอย่างนั้น, ต้องทํา, ขาดไม่ได้.
  15. จิก ๑ : ก. กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น, กิริยาที่เอาสิ่ง มีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่ เช่น เอาเล็บจิกให้เป็นรอย เอา ปลายเท้าจิกดินให้อยู่; (ปาก) โขกสับเมื่อเป็นต่อ เช่น เมื่อได้ท่าก็จิกเสียใหญ่.
  16. จิงจัง, จิ้งจัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า.
  17. จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
  18. จิปาถะ : ว. สารพัด, ไม่เลือกว่าอะไร, ทุกสิ่งทุกอย่าง.
  19. จี๋ ๑ : ว. เร็ว, จัด, เช่น วิ่งจี๋ หมุนจี๋ เร็วจี๋, ยิ่ง เช่น ร้อนจี๋ ปวดจี๋.
  20. จี้ ๒ : ก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้ สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้ ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทําตาม.
  21. จี๊ด ๒ : ว. จัด, ยิ่ง, (ใช้แก่รสเปรี้ยวหรืออาการปวดอย่างเสียดแทงคล้าย มีอะไรมาจี้อยู่).
  22. จีบ ๑ : ก. พับกลับไปกลับมาหรือทําให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียก ผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนม อย่างหนึ่งทําด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือ ลูกชนักสําหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียก พลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.
  23. จีบปาก, จีบปากจีบคอ : ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง.
  24. จึ้ง : น. เหล็กสําหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง. (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).
  25. จื้นเจือก : ว. อย่างเต็มตื้น.
  26. จุ ๒, จุ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดูดลมเข้าปากเพื่อดุ ห้าม หรือเตือนเป็นต้น.
  27. จุ้งจัง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า.
  28. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  29. จุ๊บ ๑ : ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. ก. (ปาก) จูบ, ดูด.
  30. จุลกฐิน : น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทํา อย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  31. จูงนางเข้าห้อง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่อง ในรูปเป็นวงอย่างก้นหอย.
  32. จู๊ด : ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
  33. เจ็ดตะคลี : [-คฺลี] น. ผ้าลายอย่างดีชนิดหนึ่ง, เขียนเป็น เจตตะคลี หรือ เจ็ตคลี ก็มี.
  34. เจ็บแสบ : ก. รู้สึกเจ็บใจอย่างเผ็ดร้อน.
  35. เจ่า ๒ : ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
  36. เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  37. เจ้าขา : ว. คําที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  38. เจ้าคะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  39. เจ้าค่ะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้ขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  40. เจ้าภาษี : (โบ) น. ผู้ผูกขาดตัดตอนจากรัฐบาลไปเรียกเก็บภาษีบางอย่าง จากราษฎร.
  41. เจ้าระเบียบ : ว. ที่ถือระเบียบอย่างเคร่งครัด, ระเบียบจัด.
  42. เจ้าสำราญ : ว. ที่ชอบฟุ้งเฟ้อใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน.
  43. เจ้าอธิการ : น. พระที่ดํารงตําแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่น.
  44. เจี๋ยน : น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล, เชื่อมนํ้าตาล).
  45. เจียว ๑ : ก. ทอดมันสัตว์เพื่อเอานํ้ามัน เช่น เจียวนํ้ามันหมู, ทอดของบางอย่าง ด้วยนํ้ามัน เช่น เจียวไข่ เจียวหอม เจียวกระเทียม; (ถิ่น-พายัพ) แกง. ว. ที่ทอดด้วยนํ้ามัน เช่น ไข่เจียว หอมเจียว กระเทียมเจียว.
  46. เจียว ๒ : ว. เชียว, ทีเดียว, อย่างนั้น, แน่นอน.
  47. แจงรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมา เรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทาง ทิศตะวันออก, แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
  48. แจะ ๑ : ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), ภาษาปากใช้ว่า กบแจะ ก็มี; แตะต้อง เช่น มือไปแจะหน้าขนม.
  49. โจ๊ก ๒ : ว. มีนํ้ามากเกินส่วน (ใช้แก่นํ้าแกง) เช่น น้ำแกงใสโจ๊ก; เสียงดัง อย่างเสียงนํ้าไหล.
  50. โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2597

(0.0937 sec)