Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไทยะ , then ทย, ไทย, ไทยะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไทยะ, 489 found, display 101-150
  1. ครอบจักรวาล ๔ : [คฺรอบ-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  2. ครุ่นคิด : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  3. คลื่นกระทบฝั่ง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  4. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  5. คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
  6. ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
  7. คาบ ๓ : น. พื้นหน้าเรียบ เช่น ราบคาบ. (ไทยขาว).
  8. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  9. คุณลุงคุณป้า : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
  10. คุลา : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุลา หรือ กุหล่า ก็ว่า.
  11. เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  12. เครื่องเทศ : น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจาก ต่างประเทศสําหรับใช้ทํายาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.
  13. เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
  14. เครือเถา : น. ชื่อลายไทยชนิดหนึ่ง ประดิษฐ์เป็นเถาไม้เลื้อยสอดสลับ มีดอกใบและก้าน หรือใช้ตัวกระหนกแทน.
  15. แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
  17. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  18. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  19. งู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus).
  20. เงี้ยว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย สมัยก่อน.
  21. เงี้ยวระเริง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  22. เงี้ยวรำลึก : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  23. จตุรงคประดับ : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจพระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อ ตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้ง กระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  24. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  25. จระเข้หางยาว : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  26. จอน ๒ : (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อน จอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ).
  27. จอมสุรางค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  28. จะเข้ ๑ : น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาว ไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีด ทําให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว.
  29. จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
  30. จังออน : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.
  31. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  32. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  33. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  34. จาว ๖ : ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  35. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  36. จำปาทองเทศ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  37. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  38. จีน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า จีน เช่น จีนขวัญอ่อน จีนลั่นถัน จีนขิมเล็ก.
  39. จีนแสโสกา : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  40. จึ้ง : น. เหล็กสําหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง. (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).
  41. จุ๊บแจง ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  42. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  43. เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
  44. ใจมือ : น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
  45. ฉ่อง : ว. ข้างล่างแคบข้างบนกว้าง คือ ตีนสอบ เช่นพูดว่า เรือนหลังนี้ตีนมัน ฉ่องเข้าไปนัก. (ดิกชนารีไทย). ก. กระจ่าง เช่น ฉ่องพระโฉม; ส่อง. เช่น คันฉ่อง
  46. ฉาน ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  47. ฉาน ๕ : น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทาง ภาคเหนือของประเทศไทย, ไทยใหญ่ ก็เรียก.
  48. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  49. ฉิ่งตรัง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  50. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-489

(0.0464 sec)