Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผละ , then ผล, ผละ, ผลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผละ, 723 found, display 201-250
  1. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  2. คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
  3. เคด, เค็ด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Catunaregum tomentosa (Blume ex DC.) Tirveng. ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีหนามยาว ใบรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ตามยอดอ่อน ด้านล่างของใบและดอกมีขนนุ่ม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เช่น ปรูปรางเคดดวงดาษก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  4. เค้น : ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
  5. เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
  6. เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
  7. เครื่องสด : น. ของสด เช่น หยวก ใบตอง ดอกไม้ และผลไม้บางชนิด ที่ประดิษฐ์ขึ้นสําหรับตกแต่งเชิงตะกอนที่เผาศพเป็นต้น, ถ้ามุ่งเอา หยวกเป็นหลักก็เรียกว่า เครื่องหยวก.
  8. แคปซูล : น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา; ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น. (อ. capsule).
  9. โคกกระสุน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tribulus terrestris L. ในวงศ์ Zygophyllaceae ผลเป็นหนาม ใช้ทํายาได้. (เทียบ ส. โคกษุร).
  10. ไคร้ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Glochidion วงศ์ Euphorbiaceae เช่น ชนิด G. daltonii Kurz ผลอ่อนกินได้ รากใช้ทํายา.
  11. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  12. งอก ๒ : น. เรียกต้นอ่อนที่งอกออกจากผลบางชนิดมีผลมะพร้าวเมล็ดตาล เป็นต้นว่า งอกมะพร้าว งอกตาล.
  13. งอกงาม : ก. เจริญผลิดอกออกผล.
  14. งอกเงย : ก. มีผลประโยชน์หรือรายได้เพิ่มมากขึ้น.
  15. งา ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesamum orientale L. ในวงศ์ Pedaliaceae ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือดํา ใช้ประกอบอาหารหรือสกัดนํ้ามัน.
  16. งาช้าง ๑ : น. (๑) ชื่อนํ้าเต้าพันธุ์หนึ่ง ผลยาวคล้ายงาช้าง. [ดู นํ้าเต้า(๑)]. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria cylindrica Boijer ในวงศ์ Agavaceae ใบกลมเป็นแท่ง สีเขียวเข้ม ใช้เป็นยาทําให้อาเจียน.
  17. งาน ๓ : (วิทยา) น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณ ของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่.
  18. ง้าว ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax anceps Pierre var. cambodiense Robyns ในวงศ์ Bombacaceae ต้นคล้ายต้นงิ้วแต่เปลือกสีเทาดํา ดอกสีแดงคลํ้า ในผลมีปุยขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเป็นต้น.
  19. เงาะ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน.
  20. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  21. เงื่อนไข : น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล หรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในอนาคต.
  22. เงื่อนไขบังคับก่อน : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
  23. เงื่อนไขบังคับหลัง : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
  24. เงื่อนเวลา : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือ สิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  25. เงื่อนเวลาเริ่มต้น : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  26. เงื่อนเวลาสิ้นสุด : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  27. จัด ๑ : ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
  28. จัน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.
  29. จันทน์ : น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทํายาและ [จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดา องค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาว พระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
  30. จับเส้น : ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจ ผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
  31. จาตุกรณีย์ : น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บํารุงราษฎร ๓. บํารุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
  32. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  33. จำบ่ม : ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จําบ่ม เช่น มะม่วงจําบ่ม.
  34. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  35. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  36. จึง, จึ่ง : สัน. สําหรับต่อความแสดงกิริยาที่กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วจึงไป, แสดงความที่เป็นผลเนื่องจากเหตุข้างหน้า เช่น ทําดีจึงได้ดี.
  37. จุดประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มี จุดประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
  38. เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
  39. เจ้าชู้ ๒ : น. ชื่อหญ้าชนิด Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin. ในวงศ์ Gramineae ผลมักเกาะติดเมื่อผ่านไปถูกเข้า.
  40. เจียนหมาก : ก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอก เปลือกชั้นนอกตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือกชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับ เปลือกนอกออกมากินกับพลูที่บ้ายปูนหรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้ กินได้นาน ๆ.
  41. ฉก ๒ : น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutii Griff. วงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้น ทางภาคใต้ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ หรือ รังไก่ ก็เรียก.
  42. ชมพู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry].
  43. ชองระอา : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Strychnos thorelii Pierre ex Dop. ในวงศ์ Strychnaceae ดอกสีขาวนวลผลกลม ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Securidaca inappendiculata Hassk. ในวงศ์ Polygalaceae ดอกสีเหลือง ผลมีปีก.
  44. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  45. ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  46. ชักเนื้อ : ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจํานวนที่เขากําหนดไว้ แล้ว เรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.
  47. ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม : (สํา) ว. ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทําแล้ว จะสําเร็จผล.
  48. ช้าแป้น : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Solanum erianthum D. Don ในวงศ์ Solanaceae ผลคล้ายมะเขือพวงแต่มีขน กินเมา อาจถึง ตายได้ รากใช้ทํายา.
  49. ช้าพลู : [พฺลู] น. ชื่อไม้เถาชนิด Piper sarmentosum Roxb. ในวงศ์ Piperaceae ใบคล้ายพลู กินได้ ต้นและใบมีรสเผ็ด ราก และผลใช้ทํายาได้, ชะพลู ก็เรียก.
  50. ชำมะเลียง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lepisanthes fruticosa Leenh. ในวงศ์ Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดํา กินได้ รสหวาน ปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-723

(0.0458 sec)